Shopping

Computer

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การแก้ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์แฮงค์

เครื่องแฮงค์เพราะไดรเวอร์
ไดรเวอร์คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการหรืออธิบายง่ายๆ ก็คือคอยทำหน้าที่แนะนำให้ระบบปฏิบัติการรู้จักและทำงาน ร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้นั่นเอง ดังนั้นหากอุปกรณ์ตัวไหนที่ไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็อาจทำให้ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก จึงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ดูแล้วไดรเวอร์ ไม่น่าจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาใช่มั้ยครับ แต่เนื่องจากว่า บางครั้งไดรเวอร์ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตัวเก่าได้ มีผู้ใช้หลายคนยกเครื่องมาให้ ช่างคอมพิวเตอร์ตรวจเช็คเนื่องจากปัญหาเครื่องแฮงค์บ่อยพอสอบถามถึงปัญหาก็พบว่าผุ้ใช้ได้เคยอัพเดท ไดรเวอร์รุ่นใหม่ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อตรวจเช็คแล้วก็พบว่าไดรเวอร์ที่ผุ้ใช้ อัพเดทนั้นเป็นไดรเวอร์รุ่นทดสอบที่หลายเว็บไซต์มักชอบนำมาให้ดาวน์โหลดไปทดสอบกันดูก่อน เมื่อไดรเวอร์ยังไม่สมบูรณ์ จึงยังไม่สามารถทำงานเข้ากับฮาร์ดแวร์ บางตัวได้จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ นั่นเอง ซึ่งปัญหานี้พบได้บ่อยมาก

    สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของ ผู้ใช้ก่อน หากพบเครื่องที่มีอาการแฮงค์หลังจากที่ผู้ใช้อัพเดทไดรเวอร์ลงไปให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเกิดจากสาเหตุนี้ วิธีแก้ปัญหาก็คือให้จัดการถอดไดรเวอร์ที่มีปัญหานั้นทิ้งไป แล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้คลิกขวาที่ไอคอน My Computer > Properties
2. ที่หน้าต่าง System properties ให้คลิกแท็ป Device Driver
3. จากนั้นคลิกขวาที่ไดรเวอร์ของอุปกรณ์ที่มีปัญหา แล้วเลือกคำสั่ง Remove ไดรเวอร์นั้นออกไปแล้วลงไดรเวอร์ตัวเก่าที่เคยใช้งานได้ดีกลับไปเหมือนเดิม

    แต่บางครั้งไดรเวอร์ที่มากับอุปกรณ์ตั้งแต่ตอนแรกที่ซื้อมา ก็อาจทำให้มีปัญหาได้เหมือนกัน โดยจะ พบบ่อยมากในไดรเวอร์ของการ์ดแสดงผล 3 มิติ และซาวด์การ์ดยี่ห้อโนเนมทางแก้ปัญหาคือ ต้องไปดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตอุปกรณ์ยี่ห้อที่ใช้อยู่เท่านั้น ไม่ควรไปดาวน์โหลดจากเว็บไซต์อื่น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

    เครื่องแฮงค์เพราะโปรแกรมแอพพลิเคชั่น
หลายครั้งที่อาการแฮงค์มักเกิดหลังจากโปรแกรมที่ติดตั้ง อยู่ในเครื่องเข้ากันไม่ได้ บางไฟล์ของโปรแกรมตัวหนึ่งอาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงไฟลืบางตัวของระบบปฏิบัติการจึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นตามมาได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากไฟล์นามสกุล DLL ซึ่งเป็นไฟล์สาธารณะของระบบปฏิบัติการ ที่มักจะมีหลายโปรแกรมที่เราติดตั้ง เข้ามาขอใช้ไฟล์นามสกุล DLL ด้วย แต่บางโปรแกรมก็มีไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าไฟล์ DLL ตัวเดิมของระบบปฏิบัติการ เมื่อเราติดตั้งโปรแกรมนี้ลงไปมันก็จะเขียนไฟล์ DLL ตัวใหม่ทับตัวเก่าทันที จึงทำให้เกิดปัญหาเครื่องแฮงค์ตามมา เพราะไฟล์ DLL เวอร์ชั่นใหม่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการได้

    สำหรับแนวทางแก้ไขของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมของการใช้งานของผู้ใช้ก่อน เมื่อพบเครื่องที่มีลักษณะเครื่องแฮงค์หลังจากที่ผุ้ใช้ลงโปรแกรมตัวใหม่ลงไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจ มาจากสาเหตุนี้ วิธีการแก้ไขก็คือ หากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนวินโดวส์ 98 / Me ให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg / restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจีสทรีที่วินโดวส์ได้แบ็คอัพเก็บไว้ 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหาเพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครับ

    สำหรับวินโดวส์ Me และวินโดวส์ XP ก็สามารถใช้โปรแกรม System Restore เพื่อย้อนกลับไปยังวันที่ไม่เกิดปัญหาได้ โดยสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ดังนี้

1. คลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > System Tools > System Restore
2. เมื่อปรากฏโปรแกรม System Restore ขึ้นมาให้คลิกที่ช่อง Restore my computer to earlier time แล้วคลิกปุ่ม Next
3. เลือกวันที่และจุด Checkpoint ที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา โดยวันที่ที่สามารถย้อนกลับไปได้จะเป็นช่องหนาๆ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next
4. จะมีหน้าต่างแสดงรายละเอียดของวันที่และจุด Checkpoint ที่ต้องการย้อนระบบกลับไป ให้เราคลิกปุ่ม Next แล้วโปรแกรมก็จะเริ่มทำการย้อนระบบกลับไปยังวันที่และจุด Checkpoint ที่เรากำหนด

การเข้าแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาก Software ที่เราได้ติดตั้งลงไป

การเข้าสู่เมนู Safe Mode เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเข้าแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาก Software ที่เราได้ติดตั้งลงไป เพราะในโหมดเมนูนี้จะข้ามการทำงานของ Registry และ Driverของ Hardware และค่าต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ได้กำหนดไว้ ดังนั้นขั้นตอนการ Boot เข้าสู่ Safe Mode จึงไม่เสียหายจากการทำงานเหล่านี้ จึงควรเรียนรู้การใช้งาน Safe Mode ด้วยเพราะจะช่วยแก้ปัญหาในหลายๆ เรื่องได้เป็นอย่างดี หากเครื่องใหนมีปัญหาไม่สามารถบูตเข้า Windows ได้จะแก้ปัญหาโดยการเข้าสู่ Safe Mode แล้วเข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ตามต้องการ เช่น หากปัญหาที่เกิดจากการติดตั้ง Driver ก็ให้เข้า Safe Mode แล้วเข้าไปลบไดรเวอร์ตัวนั้นออกไป หากมีปัญหาจากการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ก็ให้เข้าไปที่ Add / Remove โปรแกรมใน Safe Mode แล้วคลิกเลือกโปรแกรมที่สร้างปัญหาออกไป

ระบบ Windows และ PhotoShop สามารถติดตั้ง Font ใหม่ ๆ เพิ่มเติมได้ดังนี้

ระบบ Windows และ PhotoShop สามารถติดตั้ง Font ใหม่ ๆ เพิ่มเติมได้ดังนี้

ปกติแล้วในโปรแกรมวินโดร์จะมีรายชื่อของ Font ที่สามารถใช้งานได้เลยมาให้อยู่จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว แต่สำหรับบางโปรแกรมอย่างเช่น โปรแกรม Photo Shop อาจจะไม่สามารถใช้งานของ Font ที่เป็นภาษาไทยได้ หรือบางครั้งเราต้องการเพิ่มเติมรายชื่อของ Font เข้าไปในวินโดร์ วิธีการง่าย ๆ ก็คือให้ไปหา Download Font มาก่อน แล้วทำการ Setup หรือเข้าไปติดตั้ง
สำหรับวิธีการติดตั้ง Font เพิ่มเติมนั้น เท่าที่เคยพบมาก็มีอยู่หลายวิธี ขอยกตัวอย่างแบบง่าย ๆ ดังนี้

1. สำหรับ Font ของวินโดร์ทั่ว ๆ ไป ให้ทำการ Copy ไฟล์ของ Font ไปเก็บไว้ในไดร์ C:\WINDOWS\FONTS
2. ใช้วิธีการ Install New Font ลงในวินโดร์จากเมนู Control Panel
3. สำหรับ Font ของโปรแกรม Photoshop ก็ให้ทำการ Copy ไฟล์ของ Font ไปเก็บไว้ในไดร์ C:\Program Files\Common Files\Adobe\Fonts แล้วอย่าลืมว่า Font ที่จะใช้งานกับ Photoshop ได้นั้นจะต้องมีการแก้ไข code มาเรียบร้อยแล้วก่อนด้วย
4. สำหรับโปรแกรม Photoshop ก็มีอีกวิธีหนึ่ง คือการใช้ Plug In ชื่อว่า Extensis Phototext 2.0 (Free Ware) จากเว็บไซต์
และในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ Install New Font มาเป็นตัวอย่างให้ดูกัน โดยให้ทำการหาดาวน์โหลด Font ที่ต้องการติดตั้งเพิ่มเตรียมไว้กก่อน

- เรียก Control Panel โดยกดที่ Start เลือก Settings และ Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ Fonts
- จะเห็นรายชื่อของ Font ที่โปรแกรมวินโดร์รู้จัก หากต้องการเพิ่มเติม Font เลือกที่เมนู File เลือก Install New Font
- เปลี่ยนที่ Drives ให้เป็น Drives ที่เก็บ Font ที่ต้องการจะติดตั้งเพิ่มเติม เลือกที่ Folders ให้เป็น Folder ที่เก็บ Font จะปรากฏรายชื่อของ Font ที่หาพบในช่อง List of fonts
- ให้กดที่ Select All หรือเลือก Font ที่ต้องการติดตั้งแล้วกด OK
- รอสักครู่ จะปรากฏรายชื่อ Font ที่ติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปใหม่ หลังจากนี้ โปรแกรมต่าง ๆ ก็จะรู้จักและสามารถใช้งาน Font เหล่านี้ได้ และก็ระวัง คือจำนวนของ Font ที่จะติดตั้งเพิ่มเข้าไปในโปรแกรมวินโดร์ จะมีข้อจำกัดที่ประมาณ 1,100 ชื่อซึ่งถ้าหากติดตั้งมากเกินไป อาจจะก่อให้เกิดปัญหากับโปรแกรมวินโดร์ได้

การบูทเครื่อง Computer จากแผ่นดิสก์ โดยการสร้างแผ่น Startup Disk

การบูทเครื่อง Computer จากแผ่นดิสก์ โดยการสร้างแผ่น Startup Disk

แผ่น Windows 98 และ Windows ME Startup Disk ก็คือแผ่น Disk ที่ใช้สำหรับบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องใช้เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นกับระบบปฎิบัติการ Windows และไม่สามารถบูทเครื่องเข้าโปรแกรม Windows แบบปกติได้ โดยที่ภายในแผ่นดิสก์นี้ จะประกอบไปด้วยระบบ DOS ของ Windows และไฟล์ Utilities ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการจัดการ และการ Format Hardisk  รวมทั้งโปรแกรมหรือคำสั่งของ DOS ต่าง ๆ ในส่วนที่จำเป็นต่อการใช้งานของคอมพิวเตอร์

โดยทั่วๆไป เราจะใช้แผ่น Startup Disk สำหรับบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการจัดกับ พาร์ติชัน หรือการ Format Hardisk ซึ่งโดยปกติแล้ว การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เราควรที่จะมีแผ่นดิสก์นี้ไว้สักแผ่น เผื่อไว้ใช้งานยามฉุกเฉิน ส่วนวิธีการใช้งานแผ่นดิสก์นี้ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้มีการตั้ง Boot Sequence ให้เลือกบูทจาก Drive A: ก่อนแล้วค่อยไปหา Harddisk ถ้าเราใส่แผ่น Startup Disk ในช่อง Floppy Disk Drive เครื่องก็จะเลือกบูทจากแผ่นดิสก์นี้ แต่ถ้าหากตั้งให้ เครื่องบูทระบบจาก Hardisk ก่อนเราต้องไปเปลี่ยนใน bios ให้เป็น Drive A: แทน จึงจะใช้ได้

การสร้างแผ่น Windows 98 & Windows ME Startup Disk สามารถทำโดยใช้เครื่องมือที่อยู่ในระบบ Windows 98 & Windows ME ได้ ซึ่งแผ่น Startup Disk ที่ได้นี้จะสามารถนำมาใช้สำหรับการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ และภายในแผ่น จะมีชุดคำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น และนอกจากนี้ยังมีการติดตั้ง Driver ของ CD-ROM รวมอยู่ด้วย ดังนั้น จึงสามารถใช้งาน CD-ROM Drive ได้ในทันที โดยไม่ต้องทำการตั้ง Driver ของ CD-ROM ต่าง ๆ ให้ยุ่งยาก

วิธีการสร้างแผ่น Windows 98 & Windows ME Startup Disk ถ้าระบบ Windows ของคุณติดตั้งจากแผ่นซีดี จะต้องใส่แผ่นซีดีสำหรับติดตั้ง Windows เข้าไปในเครื่องก่อน แต่ถ้าหากเป็นเครื่องที่ทำการติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์โดยตรงก็ไม่จำเป็นครับ

การสร้างแผ่น Startup Disk เริ่มต้นโดยการเลือกที่เมนู Start >> Settings >> Control Panel >> Add/Remove Programs เลือกที่ป้าย Startup Disk
กดที่ปุ่ม Create Disk เพื่อเริ่มต้นการสร้างแผ่น Startup Disk

ใส่แผ่น Floppy Disk ในช่อง Floppy Disk Drive และกดที่ปุ่ม OK จากนั้นก็รอสักครู่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการสร้างและ Copy ไฟล์ต่าง ๆ ที่จำเป็นใส่ลงในแผ่น Floppy Disk เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สามารถนำแผ่น Floppy Disk ที่ได้นี้ไปใช้งานได้ โดยจะสามารถนำไปใช้เป็นแผ่นบูทเครื่อง Computer ได้เลย

การแก้ไขปัญหาจุกจิกในการแสดงผลจอภาพ

1. การแก้ไขปัญหาปลีกย่อยในการแสดงผลคอมพิวเตอร์

การใช้การ์ดจอภาพของ TNT แล้วเมื่อพิมพ์ข้อความต่าง ๆ แล้ว สระตัวบนและตัวล่างไม่ยอมขึ้นมาทันที
จะต้องพิมพ์ตัวอักษรดังต่อไปก่อนจึงจะเห็น เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ๆ กับผู้ที่ใช้การ์ดจอของ TNT ครับให้ลองหา Driver รุ่นใหม่ ๆ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตการ์ดจอมาใช้ สามารถจะแก้ไขได้หรือใช้ Driver ของ Detonator Version 3.65 หรือใหม่กว่านี้ขึ้นไป ซึ่งหาได้จากเว็บไซต์

2. ปัญหาสีเพี้ยนของหน้าจอแก้ปัญหาอย่างไร
การแก้ไขปัญหาสีของจอภาพสีเพี้ยนลักษณะนี้ อาจเกิดจากคลื่นแม่เหล็กที่วางอยู่ใกล้ ตู้เย็น,เตาอบไมโครเวฟ,ลำโพง หรืออื่นๆที่มีแม่เหล็ก ถาพที่ปรากฎ จึงมีสีเพี้ยนไป ซึ่งหากว่ามีการนำลำโพงที่ไม่มี Shield ป้องกันคลื่นแม่เหล็ก นำไปวางไว้ข้างจอคอมพิวเตอร์ ก็อาจพบว่าภาพบนจอคอมพิวเตอร์แสดงสีเพี้ยน ๆ เพราะว่าในตัวของลำโพงจะประกอบไปด้วยคลื่นแม่เหล็กแรงสูงอยู่ภายใน จึงทำให้จอภาพมอนิเตอร์ที่มีการใช้สนามแม่เหล็กในการควบคุมการยิงเม็ดสี ให้ตกกระทบ ตรงตำแหน่งบนหน้าจออย่างถูกต้อง เกิดอาการยิงผิดยิงถูก ภาพที่ออกมาจึงมีสีเพี้ยนไป
วิธีการแก้ไขปัญหาก็คือ เพียงวางลำโพงให้ห่างจากจอคอมพิวเตอร์พอประมาณ หรือหาลำโพงที่ Shield ป้องกันคลื่นแม่เหล็กมาใช้ก็ได้ ภาพสีก็จะหายไป แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นเลย ก็ควรให้ช่างตรวจเช็คดูจะดีกว่า เพราะบางทีอาจมีปัญหาที่จอมอนิเตอร์เอง

3. เพราะเหตุใดจอจึงดับโดยไม่มีสาเหตุ
กรณีใช้ Windows 98 ตอนบูตเครื่องขึ้นมาจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าทิ้งเครื่องไว้สักประมาณ 5 นาทีหรือขณะที่กำลังทำงานอยู่ จอภาพก็ดับไปเฉย ๆ แต่เครื่องก็ยังทำงานอยู่ ถ้าไปกดปุ่ม ESC ก็จะกลับมาเหมือนเดิม สาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็คือ เกิดจากการตั้งค่าในส่วน Power Management เป็นการประหยัดไฟในโปรแกรมวินโดวส์ และเมื่อเราไม่ได้ทำงานบนคอมพิวเตอร์เป็นเวาลานาน ๆ ตามที่กำหนดของโปรแกรม Windows ขั้นตอนการแก้ไขก็ทำตามขั้นตอนดังนี้
- เข้าไปในส่วนของ Display Properties คลิกแท็บ Screen Saver
- คลิกปุ่ม Setting
- คลิกที่แท็บ Power Schemes
- เลือกค่าต่าง ๆ ในส่วนของ Setting for Always ให้เป็น Never ให้หมด และคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า
- คลิกปุ่ม OK อีกครั้งเพื่อปิด หน้าต่าง Display Propertie เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว

4. ปิดเครื่อง Shotdown แล้วปรากฎข้อความ Windows protect error
ปัญหานี้มักจะเกิดมาจาก Driver ของอุปกรณ์ Hardware ประเภทการ์ดจอภาพ และ Mainboard เสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งการแก้ไขทั่วๆไปก็ให้เข้าไปดาวน์โหลด Driver ตัวใหม่ ๆ จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต มาแทน Driver ตัวเก่า สำหรับคนที่ใช้การ์ดจอของ Nvidia และใช้ไดรเวอร์ Detemator 3 (6.xx) ก็จะเกิดปัญหานี้ด้วยเพราะว่าไดรเวอร์ Detemator 3 (6.xx) จะไม่ทำการเคลียร์ Ram เมื่อเลิกใช้งาน คือพอทำการ Shortdown Windows มันจะจัดการกับ Ram ที่ค้างไม่ได้ จึงขึ้นข้อความ Protection Error การแก้ไขนั้นให้ทำการ Download ไดรเวอร์การ์ดจอของ Nvidia เวอร์ชั่น 7.xx มาใช้งาน ซึ่งสามารถ Download ได้ที่เว็บไซต์
แต่ไดรเวอร์ตัวนี้ก้ยังมีปัญหาในการเล่น Mode 3D วิธีแก้ก็ให้คุณทำการรีสตาร์ทใหม่ 1 ครั้ง แล้วค่อย Shutdown

5. จอภาพสั่น หรือมีการกระพริบอยู่ตลอดเวลา ทำงานแล้วรู้สึกปวดตามากจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรดี
ปัญหานี้เกิดจากคุณไม่ได้เข้าไปปรับอัตรา Refresh Rate ของจอภาพใน Windows หรือถ้าปรับแล้วก็ยังสั่นอยู่อีก ให้คุณลองดูครับว่ามีคลื่นสนามแม่เหล็กมากวนจอภาพของเราหรือไม่ เช่น จอภาพที่วางใกล้ ๆ กัน หรือจะเป็นคลื่นจากลำโพงที่วางไว้ใกล้กับจอภาพอัตรา Refresh สูง ๆ นั้นจะช่วยให้ภาพที่แสดงออกมานั้นนิ่งดูสบายตามากขึ้น สำหรับจอภาพขนาด 15" ส่วนใหญ่จะปรับอัตรา Refresh Rate อยู่ที่ 75-85 Hz ซึ่งการปรับอัตรา Refresh Rate นี้จะสัมพันธ์กับความละเอียดของจอด้วย เช่น 800x600 @ 85Hz , 1024x768 @ 75Hz ฯลฯ ขั้นตอนการปรับอัตรา Refresh Rate ให้ทำได้ดังนี้
- คลิกขวาที่ Desktop เลือก Properties
- คลิกที่แท็บ Settings และคลิกที่ Advanced
- คลิกที่แท็บ Adapter ที่ Refresh Rate สามารถปรับอัตรา Refresh Rate ได้ตามต้องการ
- คลิก ปุ่ม OK
- คลิกปุ่ม YES เพื่อยืนยันอีกครั้ง เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว

6. ถ้าหากไม่มีส่วนให้ปรับค่า Refresh Rate ทำอย่างไร
เป็นปัญหาพอสมควร เพราะหลังจากการที่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ต่าง ๆ ครบแล้วครั้นจะมาทำการปรับแต่งอัตรา Refresh Rate แต่ปรากฎว่าไม่สามารถทำได้เลย เพราะไม่มีช่องให้ปรับแต่ง ซึ่งหากว่าพบปัณหาแบบนี้ก็ต้อง ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการปรับแต่งนั่นก็คือ โปรแกรม Power Strip โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Download.com เมื่อทำการ ดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมก็จะฝังตัวอยู่ที่ทาส์บาร์ใกล้ ๆ กับนาฬิกาด้านขวาล่าง ซึ่งขั้นตอนในการปรับแต่งจากโปรแกรม Power Strip มีดังนี้
- คลิกขวาที่ไอคอน Power Strip
- เลือกไปที่ตัวเลือก Desk top
- ปรับค่ารีเฟรชในส่วนของ Refresh Rate ซึ่งควรปรับอยู่ที่ 70-85 Hz
- เมื่อปรับแล้วก็ให้ คลิกปุ่ม OK เท่านี้ก็สามารถปรับอัตรารีเฟรซได้แล้วครับ

แก้ไขปัญหาเรื่องทั่วไปบนโปรแกรม Windows

1. เมื่อติดตั้งโปรแกรมหรือติดตั้งไดรเวอร์ไปแล้ว แต่เข้าโปรแกรม Windowsไม่ได้

เช่นลงโปรแกรม Norton AntiVirus ไปแล้ว พอบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีกทีก็เข้าโปรแกรม Windows ไม่ได้แล้ว ปัญหาในทำนองนี้จะพบค่อนข้างบ่อยมาก เกิดขึ้นเนื่องจากในบ้านเราผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ ที่มีขายอยู่ทั่วไปตามห้างร้านไอที ทำให้บางครั้งในขั้นตอนการผลิต CD ไม่ได้มาตรฐานไฟล์บางตัวเลย Copy มาไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่น CD โปรแกรมที่เป็นแผ่นรวมหลายสิบโปรแกรมนั้น ค่อนข้างจะมีปัญหาเยอะมาก เมื่อผู้ใช้ซื้อไปติดตั้งจึงมีปัญหาตามมาหรือบางโปรแกรมอย่าง เช่น Norton AntiVirus ชอบที่จะเข้าไปขอใช้ไฟล์ระบบปฎิบัติการที่มีนามสกุล DLL เมื่อมีการติดตั้งไม่สมบูรณ์เลยทำให้ ไม่สามารถเข้า Windowsได้

อีกสาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากการลง Driver นั่นเอง Driver บางตัวก็มักมีปัญหากับระบบปฏิบัติการและชอบเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับไฟล์ระบบ ทำให้ Windows พังก็มีให้เห็นมาแล้ว สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์นั้น ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เสียก่อน หากพบว่าได้มีการติดตั้งโปรแกรม หรือไดรเวอร์ลงไปหลังจากนั้นก็ทำให้บูตเข้าวินโดวส์ไม่ได้อีกเลย ให้เราสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเกิดจากสาเหตุการลงโปรแกรมและไดรเวอร์ไม่สมบูรณ์จนอาจทำให้ระบบไม่สามารถบูตได้ โดยเราสามารถแก้ปัญหาได้ดังนี้

ให้บูตเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ Safe Mode เพราะการเข้าสู่ Safe Mode จะเป็นการเข้าสู่วินโดวส์โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Driver หรือไฟล์บางตัว จากนั้นให้เราเข้าไปลบโปรแกรมหรือ Driver ที่ทำให้เกิดปัญหาออกไปจากเครื่องให้หมดก่อน จากนั้นให้บูตเครื่องเข้าสู่โปรแกรม Windows ได้ตามปกติ

2. ไม่สามารถเข้าโปรแกรมวินโดวส์ได้ แต่สามารถเครื่องบูตขึ้น

ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านขั้นตอนการ POST แล้ว แต่กลับมาค้างที่หน้าจอแสดงโลโก้วินโดวส์ทำให้ไม่สามารถบูตเข้าโปรแกรม Windowsได้เลย บางครั้งก็ยังไม่แสดงโลโก้ของโปรแกรม Windows แต่กลับมีข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Missing Operation System”
แนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ก่อน ว่าได้มีการลบไฟล์ระบบบางตัวออกไปหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วปัญหาดังกล่าวนี้มันเกิดจากไฟล์ระบบ COMMAND.COM เสียหายหรือถูกลบทิ้งไปเนื่องจากว่าไฟล์ COMMAND.COM เป็นไฟล์ที่มีหน้าที่เก็บคำสั่งภายในของระบบ DOS เอาไว้ เช่น TYPE, COPY, DIR, DEL นอกจากนี้ก็ยังทำหน้าที่ ติดต่อและแปลคำสั่งของผู้ใช้ผ่านคีย์บอร์ด และนำคำสั่งนั้นไปปฏิบัติงาน ซึ่งนับว่าไฟล์ COMMAND.COM นั้นมีความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่ยังต้องอิงกับระบบ DOS อยู่มาก

วิธีแก้ไขปัญหานี้ก็คือ ให้บูตเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยแผ่น Startup Disk จากนั้นให้พิมพ์คำสั่ง SYS C: ซึ่งเป็นคำสั่ง Copy ไฟล์ระบบปฎิบัติการลงไปในไดรฟ์ C: โดยที่ไฟล์ระบบนั้นจะมีไฟล์ COMMAND.COM รวมอยู่ด้วย จากนั้นให้บูตเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้จะพบว่าสามารถบูตเข้าโปรแกรม Windows ได้แล้ว

ข้อความผิดพลาดที่ 1 : This program has performed anillegal operation and will be shut down. If the problem persists, contact the program vendor
ข้อความนี้แจ้งให้เราทราบว่าโปรแกรมบางตัวมีปัญหาเราคงต้องมาค้นหากันว่าโปรแกรมที่ติดตั้งครั้งสุดท้าย คือโปรแกรมอะไร แล้วลองลบออกไปโดยการเข้าไปที่ Add / Remove Program ใน Control Panel หลังจากนั้น จึงให้ติดตั้งเข้าไปใหม่ โดยขอแนะนำว่าให้เปลี่ยนแผ่นโปรแกรมที่ใช้ติดตั้งใหม่ เพราะหากใช้แผ่นเดิมอาจเป็นเหมือนเดิมอีก หรือบางครั้งเกิดจากไฟล์โปรแกรมที่ติดตั้งครั้งสุดท้ายมีปัญหากับ Files Programn ที่ติดตั้งมาก่อนหน้านี้ เมื่อติดตั้งใหม่จึงอาจมีอาการเหมือนเดิมควรแก้ไขโดยการอัพเดทเป็นโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่

ข้อความผิดพลาดที่ 2 : Improper shut down detected, Checking disk for errore
ข้อความนี้ได้แจ้งให้เราทราบว่าพบปัญหาผิดพลาดในขั้นตอนการชัตดาวน์ อาจเกิดจากการผู้ใช้ปิดเครื่องไม่ถูกต้อง ทำให้ระบบการ shut down มีปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาก็คือให้รอสักพักแล้วค่อยกดปุ่ม Esc ระบบก็จะกลับมาเป็นปกติ ดังนั้นถ้าหากไม่อยากให้เกิดปัญหาอย่างนี้อีก ต่อไปก็ควรปิดคอมพิวเตอร์ให้ถูกวิธีด้วยการชัตดาวน์เครื่องก่อนเสมอ

ข้อความผิดพลาดที่ 3 : Warning Windows has detected a Registry / configuration error. Choose Safe mode to start Windows with minimal set of drivers
ข้อความนี้แจ้งว่าพบปัญหาผิดพลาดในรีจิสทรีของโปรแกรม Windows โดยวินโดวส์จะแนะนำให้เราเข้าไปใน Safe mode เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สำหรับการแก้ปัญหาข้อความนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องยากมาก และมีความเสี่ยงมากทีเดียว เนื่องจากว่ารีจิสทรีเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่เก็บรายละเอียดและค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม Windowsไว้ หากมีปัญหาในส่วนนี้ ต้องอาศัยการแก้ไขอย่างรอบคอบ ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ระบบพังได้  แนะนำว่าให้แก้ปัญหาโดยการติดตั้งโปรแกรม Windows เข้าไปใหม่ทับลงไป เพื่อให้รีจิสทรีใหม่ทับรีจิสทรีตัวเก่า หรือให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg / restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจิสทรีที่โปรแกรม Windows ได้ Backup เก็บไว้ภานใน 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิดปัญหา เพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครบ วิธีการนี้อย่าลืม Backup ข้อมูลสำคัญๆ ไว้เสียก่อน

ข้อความผิดพพลาดที่ 4 : Explorer has caused an error in Kermel132.dll
ข้อความนี้แจ้งว่าระบบมีความผิดพลาดในไฟล์ Kernel132.dll ทำให้ผู้ใช้อาจไม่สามารถเข้าไปใน Control panel ได้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนวินโดวส์ Me วิธีแก้ปัญหาคือให้บูตเครื่องใหม่แล้วเข้าไปที่ Safe Mode แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้
- ให้ค้นหาไฟล์ที่มีนามสกุล *.cpl โดยเข้าไปค้นหาที่โปรแกรม Search, For Files Or Folders
- เมื่อพบไฟล์ .cpl แล้ว ซึ่งอยู่ที่ WINDOWS\SYSTEM ให้เปลี่ยนนามสกุลเป็น .Old ทีละไฟล์ แล้วลองเข้าไปทดสอบดูว่าเข้า Control panel ได้หรือยังถ้า ยังไม่ได้ให้กลับไปเปลี่ยนเป็นไฟล์ตัวอื่น จนกว่าจะสำเร็จ เมื่อสำเร็จแล้วเราก็จะสามารถรู้ได้ว่าไฟล์ตัวไหนที่เป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหา
- ให้กลับไปเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ทุกไฟล์ให้กลับเป็นเหมือนเดิม ยกเว้นไฟล์ที่เป็นต้นเหตุ จากนั้นบูตเครื่องขึ้นใหม่

ข้อความผิดพลาดที่ 5 : The selected disk drive is not in use. Check to make sure a disk is inserted.
ข้อความนี้แจ้งว่าดิสก์ไดรฟ์ไม่สามารถใช้งานได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการใส่แผ่นดิสก์ลงไปในช่องดิสก์ไดรฟ์แล้ว สำหรับปัญหานี้อาจเกิดจากผู้ใช้ลืมใส่แผ่นดิสก์ลงไปในช่องดิสก์ไดรฟ์ แต่หากได้มี การใส่แผ่นลงไปแล้วปัญหานี้อาจเกิดจากแผ่นดิสก์เสียหรือดิสก์ไดรฟ์มีปัญหา ไม่สามารถใช้งานได้ให้เราทดสอบแผ่นดิสก์โดยนำไปใช้กับเครื่องอื่นหากสามารถใช้ได้ นั่นแสดงว่าเป็นที่ดิสก์ไดรฟ์ต้องถอดมาซ่อมหรือเปลี่ยนเป็นตัวใหม่ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้

ข้อความผิดพลาดที่ 6 : There is not enough free memory to run this program. Quit one or more programs, and try again.
ข้อความนี้แจ้งว่าหน่วยความจำที่เหลืออยู่ในระบบไม่เพียงพอในการเปิดโปรแกรม ให้แกจากโปรแกรมแล้วลองเปิดใหม่อีกครั้ง สำหรับสาเหตุของปัญหานั่นคือหน่วยความจำหรือแรมของเครื่องไม่พอนั่นเอง วิธีแก้ปัญหาแบบถาวร ( แต่ต้องเสียเงิน ) ก็คือ ให้ผู้ใช้ซื้อแรมมาติดตั้งเพิ่ม หรือวิธีแก้แบบชั่วคราวก็คือ ในขณะใช้งานแนะนำให้ผู้ใช้ปิดโปรแกรมที่ไม่จำเป็นลงไปบ้าง โดยเฉพาะโปรแกรมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังโดยที่เราไม่ได้เปิดขึ้นมาใช้งาน ให้สังเกตจากบริเวณ System Tray จะมีไอคอนของโปรแกรมนั้นๆ อยู่ ให้จัดการปิดให้หมดหรือโปรแกรมประเภทที่ชอบกินแรม ( Resource Leak ) ซึ่งโปรแกรมพวกนี้แม้ว่าจะปิดโปรแกรมไปแล้วก็ยังไม่ยอมคืนหน่วยความจำกัลบมาสู่ระบบ ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่าระบบของเราเหลือ รีซอร์สเท่าไหร่โดยคลิกขวาที่ My Computer จากนั้นคลิกแท็ป Performance ดูที่ System Resource ว่าเหลือรีซอร์สกี่เปอร์เซ็นต์ หากต่ำกว่าครึ่งก็ให้ปิดโปรแกรมแล้วบูตเครื่องขึ้นมาใหม่โปรแกรมเหล่านั้นก็จะคืนแรมกลับมาเหมือนเดิม

ข้อความผิดพลาดที่ 7 : Error Reading CD-ROM in Drive D: ( หรือไดรฟ์ที่เป็นซีดีรอม ) Please insert CD-ROM XX With Serial Number XX in Drive d:  if the CD-ROM is still the drive, it may require cleaning
ข้อความผิดพลาดนี้จะแจ้งขึ้นมาว่าเกิดความผิดพลาดจากการอ่านแผ่นซีดีในไดรฟ์ D: ( หรือไดรฟ์ที่เป็นซีดีรอม ) ซึ่งสาเหตุมาจากที่ผู้ใช้กดปุ่ม Eject เพื่อนำแผ่นซีดีรอมออกมาก่อนที่วินโดวส์ จะอ่านข้อมูลเสร็จ วิธีแก้ไขก็คือ ให้นำแผ่นใส่กลับไปเหมือนเดิมรอจนกว่าวินโดวส์จะอ่านข้อมูลจากแผ่นเสร็จแล้วจึงค่อยนำออกมา โดยให้สังเกตจากหลอดไฟที่ตัวไดรฟ์ซีดีรอม ควรรอให้ไฟหยุดกระพริบเสียก่อน บางครั้งสาเหตุนี้ก็อาจเกิดจากการที่ผู้ใช้นำแผ่นซีดีที่ใช้งานไม่ได้แล้วใส่ลงไป หรือไม่ก็แผ่นซีดีสกปรกจนไดรฟ์ซีดี ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ ควรนำออกมาทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนใส่กลับไปอีกครั้งหนึ่ง

ข้อความผิดพลาดที่ 8 : -0x0000007B INACCESSIBLE_BOOT_DEVICE
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งเป็นโค้ด error โดยใช้เลขฐานเป็นตัวแสดงความผิดพลาด ซึ่งหมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่พบพาร์ทิชั่นที่กำหนด ให้เป็นตัวบูตระบบพาร์ทิชั่นที่กำหนดหรือบูตเซ็กเตอร์เกิดมีปัญหา ให้เราแก้ปัญหาโดยลองบูตระบบขึ้นมาอีกครั้ง หากยังคงไม่ได้ให้นำแผ่น Startup บูตระบบขึ้นมาแทนแล้วใช้คำสั่ง Scandisk เพื่อซ่อมแซม

CMOS Settings Wrong , Press F1 torun Setup, Press F2 to load defualt

CMOS Settings Wrong , Press F1 torun Setup, Press F2 to load defualt
CMOS Settings Wrong
Press F1 torun Setup
Press F2 to load defualt values and continuous
เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ปกติมักจะเกิดจาก 2 กรณีครับ กรณีแรกจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้งานได้เข้าไปปรับค่าต่าง ๆ ในไบออส และปรับค่าไม่สอดคล้องกับระบบ อีกกรณีหนึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้ได้เปลี่ยนฮาร์ดแวร์บางชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วไบออสเกิดอาการสับสน ทางแก้คือเมื่อบูตเครื่องขึ้นมาให้คุณกดปุ่ม F1 เพื่อเข้าสู่หน้าจอปรับแต่งไบออส หลังจากนั้น ให้คุณลองตรวจสอบ ค่าต่าง ๆ ในไบออสว่าสอดคล้องกับระบบที่คุณใช้งานหรือไม่ ให้คุณปรับค่าให้เหมาะสมกับระบบของคุณมากที่สุด แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจจริง ๆ ให้คุณมองหา และเลือกคำสั่ง Load Bios defualts, Load Basic defualts หรือหัวข้อมที่มีความหมายประมาณนี้ (ที่แปลว่าโหลดค่าไบออสมาตรฐาน) ลองหาดู เพราะไบออสแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน หลังจากนั้นให้บูตเครื่องอีกครั้ง ถ้าฮาร์ดแวร์ของคุณไม่เสีย คุณน่าจะเข้าระบบได้เป็นปกติ

CrashFreeBios คืออะไร

CrashFreeBios คืออะไร
 
คุณเคยประสบปัญหาเช่นนี้บ้างไหมครับ ไม่กล้า Update BIOS หรือใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เล่น Internet อยู่ดีดี เครื่องก็ค้างทำอะไรต่อไม่ได้ ก็เลยกดปุ่ม Reset เครื่องขึ้นมาอีกทีไม่มีภาพขึ้นหน้าจอเลยหรือขึ้นภาพมาก็ค้างอยู่หน้าจอแรกอยู่อย่างนั้นไม่ไปไหนกด Reset หรือปิดเปิดเครื่องใหม่ ก็เหมือนเดิม เอาละชิจะทำอย่างไรดีระหว่างเรียกช่างซ่อมมาดู หรือ ยกไปที่ร้านค้าทั้งสองอย่างต้องเสียเวลาเหมือนกัน แต่ ถ้า Mainboard ของคุณมี Feature นี้ CrashFree BIOS2 คุณก็สามารถที่จะทำการแก้ไขเครื่องของคุณได้ถ้าหากเครื่องคุณถูก Virus ทำลาย BIOS หรือ BIOS ของเครื่องคุณมีปัญหาเนื่องจากการ Update BIOS อยู่ จู่จู่ ไฟฟ้าเจ้ากรรมดันมาดับตอนนั้นพอดี ปัญหาตรงนี้ก็จะไม่ทำให้คุณต้องเสียเวลายกเครื่องไปพบช่างซ่อม เรามาดูวิธีการทำงานของ Feature CrashFree BIOS2 นี้ดีกว่าครับ ถ้าหาก BIOS มีปัญหา Boot เครื่องขึ้นมาจะมีข้อความขึ้นดังรูป
หลังจากนั้นให้นำแผ่น CD-ROM Drivers ของ Mainboard ใส่ลงใน CD-ROM Drive ( ถ้าหาก Mainboard มี Feature นี้แผ่นCD-ROM Drivers จะสามารถทำการ Boot ได้ ) โปรแกรมจะ Automatics BIOS ที่ตรงกับรุ่น Mainboard ให้
ถ้าหาก BIOS ตรงตามรุ่นของ Mainboard จะมีข้อความ “ The BIOS was cottupted ! Do you want to recover? ”
ให้ตอบ “ Y ” โปรแกรมจะทำการติดตั้ง BIOS ตัวใหม่ลงไปให้ จากนั้นให้ปิดเครื่องแล้วเปิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง กด
“ DEL ” เพื่อเข้าไป Set ค่าใน BIOS ให้เป็นค่ามาตรฐาน ( Default )
เป็นไงครับดูแล้วไม่ยุ่งยากเลย คุณเองก็สามารถทำได้ ต่อไปนี้ไม่ต้องเสียเวลายกเครื่องไปหาช่างซ่อม ไม่ต้องกลัวว่า Update BIOS แล้วเครื่องจะเสียอีกถ้ามี Mainboard ของคุณมี  สำหรับ CrashFreeBIOS จะมีอยู่สอง Version ด้วยกัน Version แรกนั้นจะ Boot จาก Diskette และต้องทำการ Flash BIOS เหมือนเรา Update BIOS ปกติจะไม่ทำให้เหมือนกับ Version 2

Harddisk หลัง Format แล้วไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้เป็นเพราะอะไร

Harddisk หลัง Format แล้วไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้เป็นเพราะอะไร
เป็นเรื่องปกติของสื่อจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมถึง Flash Drive ด้วยที่หลังจาก Format พร้อมใช้งานแล้วเนื้อที่จะหายไปเล็กน้อย โดยเนื้อที่ส่วนนั้นจะถูกกันไว้ใช้ในการจัดโครงสร้างของข้อมูล ไม่ต้องตกใจครับเป็นกันทุกคน

My Document เรียกใช้งานไม่ได้ ต้องเข้าไปแก้ไขที่ใด

My Document เรียกใช้งานไม่ได้ ต้องเข้าไปแก้ไขที่ใด
ส่วนใหญ่เรามักจะทำการจัดเก็บไฟล์เอสารต่าง ๆ ไว้ใน My Document เพื่อสะดวกในการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป แต่ถ้าเราไม่สามารถเข้าไปใช้งานใน My Document ได้โดยตรง ให้แก้ไขดังขั้นต่อไปนี้
1. คลิกเมาส์ขวาที่ My Document เลือกคำสั่ง Properties 
2. คลิกที่แท็บ Target แล้วคลิกปุ่ม Move
3. จากนั้นจะปรากฎหน้าต่าง Brows For Forder คลิกเลือกโฟลเดอร์ My Document ในไดรฟ์ C:
4. คลิกปุ่ม OK
5. สุดท้ายคลิกปุ่ม OK อีกครั้ง จะเห็นว่าเราสามารถเข้าไปใช้งานใน My Document ได้แล้ว

RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows บอกว่ามีแรมแค่ 96MB เอง

RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows บอกว่ามีแรมแค่ 96MB เอง
อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ครับ

เครื่องคอมพิวเตอร์ Shut Down แล้วแฮงค์

Shut Down แล้วแฮงค์
อาการดังกล่าวภาษาชาวบ้านเรียกว่าเครื่องเกเร เราอุตส่าห์สั่งปิดแล้วแต่เครื่องเจ้ากรรมกลับดื้อ ไม่ยอมทำตามคำสั่ง ถ้าใครเจอปัญหานี้ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า โปรแกรมไมโครซอฟท์น่ะมี เอกลักษณ์เฉพาะตัวเวลาผู้ใช้สั่งชัตดาวน์ โดยทั่วไป เมื่อคุณสั่งชัดดาวน์เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ โปรแกรมวินโดวส์จะทำการยกเลิกไดร์ฟเวอร์ต่างๆ ออกจากหน่วยความจำ แล้วเครื่องก็จะ หยุดทำงาน แต่ถ้าโปรแกรมมันรีบร้อนยกเลิกไดรฟ์เวอร์ (ที่พบบ่อยก็คือ วินโดวส์ 98) ก็จะทำให้ โปรแกรมหลายๆ ตัวที่เปิดใช้งานอยู่เกิดอาการแฮงก์ขึ้น
วิธีแก้ปัญหาให้ทำอย่างนี้ครับ คุณสามารถ Disable การสั่งชัดดาวน์อย่างรวดเร็วนี้ได้อย่างง่ายๆ โดยการคลิ๊กที่เมนู Start เลือก Run แล้วพิมพ์คำว่า "Msconfig" จากนั้นกด <Enter> เมื่อเห็นหน้าต่างที่เปิดขึ้นมา ให้คุณเลือกปุ่ม Advanced เพื่อเลือกเช็ค Disable Fast Shutdown หากคุณใช้วินโดวส์ 95 หรือ 98SE อยู่แล้วคุณจะไม่เจอปัญหาการ ชัดดาวน์แบบนี้เลย

ในขณะที่วินโดวส์รีสตาร์ต มีข้อความไม่พึงประสงค์แจ้งขึ้นที่หน้าจอ Windows Protection Error

Windows Protection Error
ในขณะที่วินโดวส์รีสตาร์ต มีข้อความไม่พึงประสงค์แจ้งขึ้นที่หน้าจอ "While initializing device 
<ชื่อดีไวช์> Windows Protection Error" หรือข้อความสั้น ๆ ว่า "Windows Protection Error" 
แหล่งที่มาของข้อความเริ่มจากปัญหาการเรียกใช้เวอร์ชวลดีไวซ์ไดรเวอร์ (VxD - virtual device driver) ก่อนที่จะโหลดตัวโปรแกรมระบบ เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเกิดปัญหาจะมีการแจ้งว่า VxD ไม่สามารถโหลดได้ 
สำหรับสาเหตุที่ไม่สามารถเรียกใช้ VxD ได้ เนื่องจาก 
- ไดรเวอร์ของ Real-mode กับ protected-mode ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ 
- ข้อมูลของค่ารีจิสทรีได้รับความเสียหาย 
- Win.com หรือ Command.com ติดไวรัส 
- มีการโหลดดีไวซ์ไดรเวอร์ซ้ำซ้อน 
- ตั้งค่าต่าง ๆ ใน CMOS ไม่ถูกต้อง 
- มีปัญหากับอุปกรณ์จำพวกเสียบแล้วใช้ (PnP-Plug and Play) 
- อุปกรณ์มีปัญหา เช่น แรม ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำแคช 
- เมนบอร์ดมีปัญหา ทำงานไม่สมบูรณ์ 
การแก้ไข 
- รีสตาร์ตวินโดวส์ในโหมดเซฟ ถ้ายังทำงานได้ให้รีสตาร์ดใหม่แบบปกติ 
- ถ้าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์จำพวก PnP ให้ทำการติดตั้งใหม่โดยใช้คำสั่ง set /p I 
- ตรวจสอบดูการตั้งค่าต่าง ๆ ของ CMOS ให้ถูกต้อง (รายละเอียดอยู่ในคู่มือที่มากับเครื่อง) 
- ทดลองติดตั้งวินโดวส์ใหม่ในไดเรคทอรีอื่น เลือกติดตั้งแบบ Custom ไม่ต้องให้ระบบหาฮาร์ดแวร์ 
ลองติดตั้งเฉพาะเมาส์ การ์ดแสดงผล และคีย์บอร์ด ลองใช้งานดูครับว่าปกติหรือไม่ 
- ถ้ามีระบบหรือคอมพิวเตอร์หลายตัวก็ลองเปลี่ยนแรม หรืออุปกรณ์ที่คิดว่ามีปัญหา สลับกันไป ถ้าพบว่าปัญหาเกิดจากฮาร์ดแวร์คงต้องติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายเพื่อเปลี่ยน (ถ้ายังไม่หมดประกัน)

การป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พัง

การป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พัง
เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเมนบอร์ด และการ์ดต่าง ๆ ซึ่งบนตัวแผ่นวงจรและการ์ดก็จะมีซิปไอซี (IC : Integrated Circuit) จำนวนมาก ซึ่งซิปพวกนี้ไวมากกับไฟฟ้าสถิตที่ตัวเรา จึงต้องระมัดระวังเวลาหยิบจับ ดังนั้นเวลาจะซ่อมเครื่องก็ควรปฎิบัติดังนี้
1. ถอดปลั๊กไฟก่อนทุกครั้งเมื่อมีการทำกิจกรรมใด ๆ ภายในเครื่อง
2. ใช้สายกราวน์รัดข้อมือ (Grounded Wrist Strap) เพื่อคลายไฟฟ้าสถิตไม่ให้เข้าไปทำลายวงจร ของไอซี
3. เวลาถือการ์ดให้พยายามจับที่ขอบแผ่นพริ้น หลีกเลี่ยงการจับต้องอุปกรณ์บนการ์ด โดยเฉพาะบนตัวซิปไอซี
4. เวลาจะถอดหรือติดตั้งอุปกรณ์จำพวกเมนบอร์ด อย่าลืมถอดปลั๊ก Power Supply ออกก่อน โดยให้สังเกตุจากหลอด LED ที่อยู่บนเมนบอร์ด จะต้องดับ แต่ถ้ายังสว่างอยู่ก็แสดงว่าปลั๊กไฟยังไม่ได้ถูกถอดออก ซึ่งในขณะนั้นเครื่องอาจจะอยู่ในสถานะ Suspend หรือ Soft-mode ซึ่งเป็นโหมดประหยัดพลังงาน แต่เครื่องยังทำงานอยู่

แก้ปัญหาภาพล้ม

แก้ปัญหาภาพล้ม
วิธีการปรับ Refresh rate แล้วภาพเกิดล้ม มีวิธีแก้ง่ายๆ
ทริก & ทิป ตัวนี้ ถือได้ว่า เป็น ทริก & ทิป สำหรับคนมือซน สักหน่อย ก็เพราะว่าการปรับ Refresh rate บางทีนั้น ปรับซะจนสูงเกินไป จนจอของเรานั้น ไม่สามารถรับได้ มันก็จะเกิดอาการ ภาพล้ม!! ก็คือ ตอนนั้นเราจะมองอะไรไม่เห็นเลยน่ะสิครับ เอาล่ะ แล้วที่นี่เราจะปรับมันกลับยังไงดีล่ะเนี่ย ไม่เป็นไร เราก็มีวิธีแก้ง่ายๆ
- ขั้นแรก ก็ต้อง กดปุ่ม restart เครื่องไปเลย แล้วที่นี้ พอมันเริ่ม restart เครื่อง
- ขั้นที่สอง พอมันขึ้นคำว่า starting windows ก็ให้เรากด F8 แล้วเลือกเข้าที่ safe mode
- ขั้นที่สาม เอาล่ะ ที่นี่พอเครื่องเราเข้าที่ saft mode แล้ว เราก็จะทำการ เซ็ทค่า Refresh rate มันกลับล่ะ โดยการที่ ไปปรับใน Displays Properties ภายใน Control Panel แล้วปรับ Refresh Rate ให้เป็น Adapter Default ตอบ OK 2 ครั้ง แล้ว Restart เครื่องใหม่
- ขั้นสุดท้าย เมื่อเข้า Windows ใหม่แล้วก็ค่อยเข้าไปปรับ Refresh rate อีกครั้ง

ข้อความ Error Message ของฮาร์ดดิสก์แบบต่าง ๆ และวิธีแก้

ข้อความ Error Message ของฮาร์ดดิสก์แบบต่าง ๆ และวิธีแก้
ขึ้นข้อความ Error Message ว่า "Disk boot failure" 
สาเหตุ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ไม่มีระบบปฏิบัติการหรือไฟล์สำคัญของระบบปฏิบัติการเสียหาย 
วิธีแก้ โดยการลงระบบปฏิบัติการใหม่อีกครั้งโดยขั้นแรกให้บู๊ตจากไดร์ฟ A ก่อน โดยเขาไปเซ็ตที่ BIOSให้บู๊ตจากไดร์ฟ A เป็นไดร์ฟแรก จากนั้นให้นำแผ่นสตาร์ทอัพดิสก์ใส่ในไดร์ฟ A แล้วเริ่มเครื่องใหม่ เครื่องจะทำการบู๊ตผ่านทางฟล๊อปปี้ดิสก์ จากนั้นให้ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ลงในไดเร็คทอรี่เดิม โดยไม่ต้องฟอร์แม็ต จะเป็นการซ่อมแซมไฟล์และทำให้ขอมูลอื่น ๆ ไม่สูญหาย
ขึ้นข้อความ Error Message ว่า"Harddisk Controller Fail" 
สาเหตุ เป็นอาการเสียที่เมนบอร์ดที่ช่องเสียบฮารืดดิสก์แบบ IDE
วิธีแก้ เบื้องต้นให้ลองสลับสายฮาร์ดดิสก์มาใช้อีกช่องเสียบหน่งทีเหลือโดยให้ต่อเป็นMaster กับSlave อีกวิธีหนึ่งให้ซื้อ Harddisk Controller เป็นการ์ดมาเสียบแล้วเข้าไปใน BIOS เพื่อเขาไปปิด ช่องเสียบฮาร์ดดิสก์บนบอร์ด ถ้ายังแก้ไม่ได้ให้นำเมนบอร์ดส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip set ที่เสีย
ขึ้นข้อความ Error Message ว่า"Primary Master Haddisk Fail"
สาเหตุที่ 1 ฮาร์ดดิสก์เสีย
วิธีแก้ ถ้าอยู่ในช่วงประกันสามารถเอาไปเคลมเพื่อแลกตัวใหม่ได้ แต่ถ้าพ้นช่วงประกันไปแล้วก็คงต้องซื้อใหม่เพราะอาการนี้ซ่อมยาก 
สาเหตุที่ 2 เราทำการถอดฮาร์ดดิสก์ออกไปแล้วไม่ได้ใส่กลับในช่องเดิม ในขณะที่เราไปเซ็ตค่าไบออสให้จำค่าของฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าไว้ แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
วิธี แก้ ให้เข้าไปเซ็ตค่าไบออสใตรงกับฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่หรือเข้าไปสลับตำแหน่ง ฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องเหมือนเดิม

ข้อความผิดพลาดที่9 : Data Error Reading Drive C: หรือบางครั้งอาจแจ้งว่า Error Reading Drive C: และ Serious Disk Error Writing Drive C:

ข้อความผิดพลาดที่9 : Data Error Reading Drive C: หรือบางครั้งอาจแจ้งว่า Error Reading Drive C: และ Serious Disk Error Writing Drive C:

ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่าข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หรือไดรฟ์ C: เกิดความเสียหาย หรือไม่ก็แจ้งว่าไม่สามารถเขียนข้อมูลลงในฮาร์ดดิสก์หรือไดรฟ์ C: ได้เลย ปัญหานี้นับว่าเป็นอันตรายต่อข้อมูลและตัวฮาร์ดดิสก์เองมากที่สุด เพราะเป็นไปได้ว่าฮาร์ดดิสก์ของเราอาจเสียหายได้ วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือใช้คำสั่ง Scandisk เพื่อทำการตรวจสอบและซ่อมแซมในส่วนที่เสียหาย ( Automatically Fix Error ) โดยให้เลือกออปชั่นทุกตัวที่สามารถแก้ไขได้ หากโชคดีฮาร์ดดิสก์ไม่เสียหายมากนักโปรแกรมก็อาจซ่อมแซมได้ แต่ถ้าไม่สามารถ แก้ไขได้คงต้องใช้วิธีสุดท้ายนั่นคือ ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ และทำการ Fdisk เพื่อแบ่งพาร์ทิชั่น กันส่วนที่เสียหายหรือเกิดแบดเซ็กเตอร์นั้นทิ้งไป ก็จะสามารถใช้งานต่อไปได้สักระยะหนึ่ง แต่หากต้องการแก้ปัญหาถาวรควร รีบจัดการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์โดยเร็ว เพราะเป็นไปได้ว่าแบดเซ็กเตอร์อาจลุกลามไปทำลายข้อมูลสำคัญในฮาร์ดดิสก์ได้ ซึ่งไม่คุ้มกันเลย ข้อความผิดพลาดที่ 10 : -0x0000007F UNEXPECED_KERNEL_MODE_TRAP
ข้อความผิดพลาดนี้จะแจ้งเป็นโค้ด error โดยใช้เลขฐานเป็นตัวแสดงความผิดพลาด ซึ่งมีความหมายว่าอาจเกิดปัญหาการทำงานของหน่วยความจำผิดพลาด ให้ตรวจสอบการติดตั้งว่าเสียบแรมลงบนซ็อกเก็ตแรมแน่นดีแล้วหรือไม่และหน่วยความจำที่ใช้เป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ ในเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีทั้งซ็อกเก็ตแรมที่ ใช้กับ SDRAM และ DDR SDRAM หากผู้ใช้ติดตั้งแรมทั้ง 2 ชนิดในเมนบอร์ดตัวเดียวกันอาจทำให้เกิดปัญหานี้ได้ วิธีแก้ไข ให้ใช้แรมชนิดเดียวกันไม่ควรติดตั้งแรม 2 ชนิดบนเมนบอร์ดตัวเดียวกัน อีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการกำหนดค่าในไบออสไม่ถูกต้อง ให้กลับไปกำหนดเป็นค่าเดิม หรือเป็นไปได้ว่าแรมเสียซึ่งมี ทางเดียวคือต้องเปลี่ยนแรมใหม่ ข้อความผิดพลาดที่ 11 : - Not enough memory to render page
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่าหน่วยความจำในการจัดการหน้าเอกสารที่สั่งพิมพ์ไม่เพียงพอ ซึ่งปัญหานี้เกิดจากการที่ผู้ใช้สั่งพิมพ์งานมากเกินไปทำให้หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์นั้นมีไม่เพียงพอ บางครั้งอาจทำให้ระบบเกิดการแฮ็งค์หรือหยุดทำงานไปเฉยๆ ทางแก้ไขปัญหาต้องสั่งพิมพ์ใหม่โดยการแบ่งงานไปพิมพ์ทีละน้อยๆ และอีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากไดรเวอร์ทำงานผิดพลาดอาจต้องไป ดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่ตามเว็บไซต์ของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์นั้น ข้อความผิดพลาดที่ 12 : Afilename cannot contain any of the following characters: \ / : * ? < > !
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่า การตั้งชื่อหรือการเปลี่ยนชื่อไฟล์ไม่สามารถตามด้วยอักขระเหล่านี้ได \ / : * ? < > ! แต่บางครั้งแม้จะมีข้อความเตือนแล้ว แต่ก็ยังยอมให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อแล้วตามด้วยอักขระเหล่านี้ด้วยเช่นกัน แต่อาจทำให้ระบบมีปัญหาภายหลังตามมา แนะนำว่าให้ควรไปเปลี่ยนชื่อไฟล์เสียใหม่หรือไม่ต้องตั้งชื่อไฟล์ด้วยอักขระเหล่านี้ ข้อความผิดพลาดที่ 13 : ERROR LOADING CS หรือ NO ROM BASIC SYSTEM HALTED
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่า มีการผิดพลาดในขั้นตอนของการบูตระบบ หรือมีการผิดพลาดจาก การทำงานของหน่วยความจำพื้นฐาน ซึ่งหมายความว่าไบออสไม่สามารถบูตเครื่องขึ้นมาได้เนื่องจากไม่มีไฟล์ระบบ ซึ่งอาจเป็นเพราะการกำหนดค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือในโปรแกรม FDISK กำหนดไดร์ฟเพื่อให้เป็นตัวบูต (Active) ผิด ทำให้ไม่สามารถบูตเครื่องขึ้นมาได้ เครื่องหมายคำถามสีเหลืองตรง device manager
คือผมอยากทราบว่าตรง device manager ในส่วนของ System นั้นมีเครื่องหมายคำถามสีเหลืองปรากฎอยู่ แสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นเป็นอะไรครับ
หลายคนคงสงสัยว่าในส่วน device manager นั้นมีไว้ทำอะไร ในส่วนของ device manager ก็มีไว้เพื่อแสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง และยังเป็นส่วนที่ใช้ในการลงไดรเวอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ รวม ไปถึงเป็นส่วนที่ใช้ในการแก้ปัญหาการขัดแย้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่อง
ส่วนที่ถามว่ามีเครื่องหมายคำถามสีเหลืองปรากฎอยู่ที่หน้าอุปกรณ์ แสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นยังไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็ให้ทำการลงไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ชิ้นนั้นเสียก่อน เมื่อทำการลง ไดรเวอร์อุปกรณ์เสร็จแล้วเจ้าไอคอนรูปสีเหลืองก็จะหายไปเอง นอกจากนั้นคุณอาจพบกับเครื่องหมายตกใจสีเหลืองด้วย นั่นแสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นเคยมีการติดตั้ง ไดรเวอร์ลงไปแล้ว จะเป็นการเตือนว่าคุณได้ใช้ไดรเวอร์ที่ไม่ตรง กับอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้รีบทำการหาไดรเวอร์ของอุปกรณ์ชิ้นนั้นมาทำการติดตั้งเสีย เพราะว่าถ้าไม่ทำการแก้ไขก็จะไม่สามารถใช้งานความสามารถของอุปกรณ์ชิ้นนั้นได้ คอมพิวเตอร์ไม่ทำงานเมื่อคุณสั่งชัตดาวน์
ทำไมคอมพิวเตอร์ของผมจึงหยุดการตอบสนองเอาดื้อ ๆ ทุกครั้งที่ผมทำการปิดระบบวินโดวส์ 98 จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ปัญหานี้มีพบเห็นได้บ่อยครั้งจากผู้ใช้หลาย ๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่มักตีความเป็นว่าวินโดวส์เสีย สุดท้ายก็ทำการลบวินโดวส์แล้วลงใหม่ แต่ความจริงแล้วสาเหตุที่ทำให้เครื่องหยุดการตอบสนอง เมื่อใช้คำสั่งชัตดาวน์นั้นมากจากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุอะไรได้ดังนี้
ตรวจสอบว่าแฟ้มเสียง Exit Windows เสียหายหรือไม่
ถ้าหากว่ามีการตั้งเสียงให้กับวินโดวส์ในส่วนของ Sounds แล้วไฟล์เสียงในส่วนของการออกจากวินโดวส์ (Exit Windows) นั้นเสีย ก็จะทำให้มีปัญหาในการชัตดาวน์ขึ้นมาทันที ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบและทางแก้ไขปัญหาก็มีดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start แล้วเลือกไปที่ Settings>Control Panel จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sounds and …
ที่แท็บ Sound ในส่วนของ Sound Events ให้คลิกที่ตัวเลือก Exit Windows
จากนั้นกำหนดค่าในส่วนของ Name ให้เป็น (None) แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า
แล้วทำการทดสอบปิดระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าหากว่าวินโดวส์ 98 ปิดระบบได้อย่างถูกต้อง ปัญหา เกิดจากแฟ้มเสียหาย ให้เลือกหนึ่งในปฏิบัติการต่อไปนี้เพื่อแก้ไขปัญหา
- ทำการก็อปปี้แฟ้มเสียงจากเครื่องอื่นมาใส่
- ติดตั้งโปรแกรมที่มีแฟ้มเสียงนั้นใหม่อีกครั้ง
- กำหนดค่าให้เป็น (None) เพื่อไม่ให้มีการเล่นแฟ้มเสียง Exit Windows ต่อไป
ตรวจสอบความสามารถการปิดระบบอย่างรวดเร็ว (Fast shutdown)
การปิดระบบอย่างรวดเร็วเป็นคุณลักษณะใหม่ที่รวมอยู่ในวินโดวส์ 98 เพื่อช่วยลดเวลาที่ใช้ในการปิดระบบคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามคุณลักษณะนี้เข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่าง และสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณหยุดการตอบสนองถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งหากว่าเครื่องของคุณเกิดปัญหาก็ให้ลองปิดคุณสมบัติดูดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start จากนั้นเลือกไปที่คำสั่ง Run แล้วพิมพ์คำว่า Msconfig ในส่วนของ Open จากนั้นคลิกปุ่ม OK
ในส่วนของแท็บ General ให้คลิกปุ่ม Advanced คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Disable fast shutdown จากนั้นคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า แล้วคลิกปุ่ม Ok อีกครั้ง
รอสักครู่วินโดวส์จะแสดงข้อความให้บู๊ตเครื่องใหม่ ก็ให้คลิกปุ่มเพื่อทำการบู๊ตเครื่องใหม่ได้ทันที เมื่อเข้าสู่วินโดวส์อีกครั้ง ก็ให้ลองปิดระบบคอมพิวเตอร์ถ้าคอมพิวเตอร์ปิดระบบอย่างถูกต้อง คุณลักษณะการปิดระบบอย่างรวดเร็วอาจเข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อย่างน้อยหนึ่ง อย่างที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณ คราวนี้ก็ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนใด ๆ เพิ่มเติมแล้ว ซัตดาวน์แล้วปรากฎข้อความ “Window protect error”
ทำไมเวลาที่ทำการชัตดาวน์เครื่องคอม จะขึ้นข้อความว่า “Windows protection error system hault” แล้วก็จะให้รีสตาร์เครื่องใหม่ทุกที ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรดี
ปัญหานี้มักจะเกิดจาการไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ประเภทการ์ดจอ และเมนบอร์ดเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการแก้ไขทั่ว ๆ ไปก็ให้เข้าไปดาวน์โหลด ไดรเวอร์ตัวใหม่จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต มาแทนไดรเวอร์ตัวเก่า ส่วนคนที่ใช้การ์ดจอของ Nvidia และใช้ไดรเวอร์ Deternator 3 (6.xx) ก็จะเกิดปัญหานี้ด้วย เพราะว่า Detemator 3 (6.xx) จะไม่ทำการเคลียร์แรมเมื่อเลิกใช้งาน พอทำการชัตดาวน์วินโดวส์มันจะจัดการกับแรมที่ค้างไม่ได้ จึงขึ้นข้อความว่า “Protection Error” ทางแก้ไขนั้นทำการดาวโหลดไดรเวอร์การ์ดจอของ Nvidia เวอร์ชั่น 7.xx มาใช้งาน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ Nvidia แต่ไดรเวอร์ตัวนี้ก็ยังมีปัญหาในการเล่น Mode 3D วิธีแก้ก็ให้คุณทำการรีสตาร์ทใหม่ 1 ครั้ง แล้วค่อยชัตดาวน์ครับ บูตเข้าวินโดวส์ไม่ได้เพราะรีจิสทรีพัง
มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แต่มีอย ู่สาเหตุหนึ่งที่ค่อนข้างร้ายแรงและแก้ไขได้ยากคือสาเหตุที่เกิดจากรีจิสทรีพัง รีจิสทรีคืออะไรสำคัญขนาดไหนช่างคอมพิวเตอร์มือใหม่ควรต้องรู้จักและเรียนรู่ไว้ เพราะรีจิสทรีมีความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการวินโดวส์มาก แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้มักไม่ค่อยได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมัน จึงอาจไม่ทราบว่ารีจิสทรีมีความสำคัญมากทีเดียว โดยรีจิสทรีของวินโดวส์จะทำหน้าที่เป็นฐาน ข้อมูลสำหรับวินโดวส์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับโปรแกรมขนาด 32 บิต รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การกำหนดค่าต่างๆ และการทำงานของผู้ใช้ ดังนั้นหากรีจิสทรีเกิดไม่สามารถทำงานได้หรือล่ม ขึ้นมา จะทำให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้ด้วยเช่นกัน
นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้ผู้สร้างไวรัสทั้งหลาย เขียนไวรัสขึ้นมาโดยมีเป้าหมายในการโจมตีรีจิสทรี โดยตรง นอกจากสาเหตุไวรัสเข้าทำลายรีจิสทรีแล้ว การติดตั้งโปรแกรมต่างๆที่มีปัญหากับรีจิสทรี หรือไฟล์ รีจิสทรีถูกลบทิ้งไปก็ทำให้เกิดปัญหากับรีจิสทรีและระบบวินโดวส์ได้ มีผู้ใช้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าฮาร์ดดิสก์พัง เนื่องจากไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แต่ความจริงแล้วหลายสาเหตุมักเกิดมาจากเจ้ารีจิสทรีนั่นเอง

เผลอใช้คำสั่ง Empty Recycle Bin ทำอย่างไรจะกู้ไฟล์คืนมาได้
พอดีผมเผลอไปลบไฟล์ภายในเครื่องเข้า แล้วลืมไปใช้คำสั่ง ๆ Empty Recycle Bin ทำให้ไฟล์ใน ถังขยะหายไปหมด จะมีวิธีใดบ้างที่ผมจะสามารถกู้ไฟล์นั้นคืนมา เพราะเคยทราบว่ามีวีธีการทำได้แม้ลบจาก Recycle Bin แล้วก็ตาม
บ้างครั้งเราอาจลืมลบไฟล์สำคัญ ๆ ไป แต่ด้วยความที่คิดว่ามันยังอยู่ในถึงขยะจึงยังไม่ทำการกู้ข้อมูลคืนมา เวลาผ่านไปเนิ่นนามดันลืมก็เลยไปเผลอใช้คำสั่ง Empty Recycle Bin คราวนี้หลาย ๆ คนไมเกรนคงถามหาเป็นแน่ ฉะนั้นหากว่าจะลบไฟล์อะไรอย่าลืมคิดสักนิด ดูให้ดีก่อนว่าจะยังคงใช้ไฟล์นั้นหรือไม่ เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจึงลบไฟล์นั้นทิ้งไป
จากปัญหาในข้อนี้ทางแก้ไขของปัญหานั้น ก็ให้ลองหาโปรแกรมที่ชื่อ Lost and Found หรือ recover4all มาใช้ดู (หาได้จากเว็บไซต์; Download.com) แต่จะกู้ได้ 100% หรือเปล่านั้นผมไม่รับรองนะครับ แต่ผลการทดลองใช้งานดูก็พบว่ามันสามารถทำการกู้ข้อมูลกลับมาได้พอสมควร แต่กระนั้นโปรแกรมนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อไฟล์นั้น ๆ เพิ่งถูกลบทิ้งไป แต่ถ้าลบทิ้งไป นานแล้วอาจจะไม่ได้คืนมาทั้งหมดหรืออาจไม่สามารถกู้ข้อมูลได้เลย ฉะนั้นหากเกิดปัญหาลักษณะนี้ต้องรีบกู้ข้อมูลโดยเร็ว โดยขึ้นตอนในการกู้จะใช้เวลานานพอสมควรฉะนั้นอย่าใจร้อน…….รอหน่อย ลบรายชื่อไฟล์ในส่วน Document ได้อย่างไร
ผู้ใช้หลายคนคิดว่าไฟล์ที่อยู่ในรายการ Document ที่ส่วนของเมนู Start นั้น ลบไม่ได้ แต่แท้ที่จริงแล้วเราสามารถลบรายชื่อเหล่านั้นออกไปจากรายการ Document ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งขึ้นตอนการลบไฟล์ในรายการดังนี้ คลิกปุ่ม Start แล้วเลือกไปที่ Settings>Taskbar and Start Menu
คลิกที่แท็บ Advanced (ถ้าเป็นวินโดวส์ 98 ก็คลิกที่แท็บ Start Menu Program)
คลิกปุ่ม Clear เพียงเท่านั้นไฟล์ที่อยู่ในรายการ Document ก็จะถูกลบทั้งหมด คราวนี้ไปทำอะไรไว้ก็ไม่ต้องกลัวคนอื่นจะมาเห็นแล้ว ขั้นตอนการลบไฟล์ขยะโดยอัตโนมัติ
คือผมใช้วินโดวส์ 98 อยู่ตอนนี้ ผมต้องการทราบว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถลบไฟล์ชั่วคราวที่สิงสถิตอยู่ในไดเร็คทอรี C:\Windows\Temp ได้โดยอัตโนมัติ เพราะมีความรู้สึกว่ามันกินเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์อย่างมาก จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
วิธีการที่ดีที่สุดคือ การเพิ่มบรรทัด del C:\Windows\Temp\*.tmp>nul ลงไปในไฟล์ Autoexec.bat เพื่อให้ดอสลบไฟล์ชั่วคราวเหล่านี้ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง โดยมีขั้นตอนดังนี้
ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน My Computer
ดับเบิ้ลคลิกที่ไดรว์ C:
คลิกขวาที่ไฟล์ Autoexec. Bat แล้วเลือก คำสั่ง Edit
พิมพ์คำว่า del C:\Windows\Temp\*.tmp>nul เพิ่มลงไปในบรรทัดใหม่
คลิกเมนูคำสั่ง File>Save เพื่อทำการบันทึกค่า เพียงเท่านั้นเวลาบู๊ตเครื่องเข้าสู่วินโดวส์ไฟล์ขยะก็จะถูกลบออกไปทุกครั้งแบบอัตโนมัติ ลบไฟล์หมดแล้ว แต่ยังปรากฎรายชื่อโปรแกรมในไดอะล็อก Add/Remove Programs
ปัญหาหนึ่งที่อาจพบได้ภายหลังกระบวนการ uninstall นั่นคือ รายชื่อโปรแกรมที่เพิ่งลบทิ้งไปยังคงปรากฎอยู่ในไดอะล็อก Add/Remove Programs ทางแก้ก็คือการเข้าไปลบคีย์ในรีจีสทรีโดยเรียกโปรแกรม Registry Editor ขึ้นมาโดยการคลิกปุ่ม Start แล้วเลือกคำสั่ง Run..จากนั้นพิมพ์คำว่า regedit ลงไปในช่อง open จากนั้นคลิกปุ่ม OK หน้าต่าง Registry Editor ก็จะปรากฎขึ้นมาทันที
จากนั้นเปิดคีย์HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\ Uninstall แล้วทำการลบซับคีย์ของโปรแกรมที่มีปัญหาทั้งไป เพียงเท่านี้รายชื่อโปรแกรมที่ค้างอยู่ก็จะถูกลบออกไป ช่วยด้วย…..โฟลเดอร์และโปรแกรมหายไปไหนหมด
ทำไมโฟล์เดอร์และโปรแกรมต่าง ๆ ของวินโดวส์ 98 หายไปจากหน้าต่างของวินโดวส์ครับ เกิดจากอะไรวินโดวส์ของผมพังหรือเปล่า จะทำอย่างไรให้โฟลเดอร์และโปรแกรมต่าง ๆ ปรากฎขึ้นมาอีกครั้ง
ผู้ใช้มือใหม่หลาย ๆ ท่านหากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นมาต้องใจเย็น ๆ ครับ แล้วค่อย ๆ ไล่หาสาเหตุของปัญหานั้นทีละขั้นตอน โดยปัญหาลักษณะนี้อาจเกิดจากการปรับแต่งให้วินโดวส์ทำการซ่อน ไอคอนบนเดสก์ทอปทั้งหมด ซึ่งขั้นตอนการแก้ไขก็ให้คุณทำตามดังนี้
คลิกปุ่ม Start จากนั้นเลือกไปที่ Settings>Folder Options เลือกไปที่แท็บ View
ดูในส่วนของ Visual Settings ว่ามีการเลือกที่ตัวเลือก Hide icons when desktop… หรือเปล่าหากว่ามีการเลือกที่ตัวเลือกนี้อยู่ก็ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกนี้ออก
คลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้ ไอคอนและโฟลเดอร์ต่าง ๆ ก็จะปรากฎเหมือนเดิมแล้ว แต่ถ้าหากว่ายังไม่หาย ก็ให้ลองทำการติดตั้งวินโดวส์ทับลงไปใหม่ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็น่าจะหายไปครับ ทำไมอยู่ ๆ ไฟล์ในเครื่องเพิ่มมากขึ้น
ผมสงสัยว่าเมื่อผมใช้คอมพิวเตอร์ไปนาน ๆ ทำไมจึงมีไฟล์เกิดขึ้นมากมาย และไฟล์ไหนบ้างที่ผมสามารถลบได้ ช่วยบอกด้วย
หลังจากที่ใช้คอมพิวเตอร์ไปช่วงหนึ่ง วินโดวส์จะมีการสร้างไฟล์ขึ้นมาเองเช่น ไฟล์.tmp หรือว่าถ้าทำการลงโปรแกรมบางโปรแกรม โปรแกรมเหล่านั้นก็อาจสร้างไฟล์ขึ้นมาให้เอง เช่น ไฟล์ .bak เป็นต้น ฉะนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจึงมีไฟล์เกิดขึ้นมาเองมากมาย โดยไฟล์ที่สามารถลบได้โดยไม่มีผลกระทบตามมา ก็ได้แก่ไฟล์ที่มีนามสกุลต่อไปนี้ .tmp, .BAK, .$$$, .chk, .PCC, ไฟล์ Autoexec และ Config ยกเว้นไฟล์ Autoexec.bat และ Config.sys ห้ามลบเด็ดขาด เพราะเป็นไฟล์ที่มีส่วนช่วยในการบู๊ตระบบวินโดวส์ ซึ่งหากไม่มีไฟล์ทั้ง 2 นี้ก็จะพบปัญหาตามมาทันที เช่น บู๊ตเครื่องไม่ขึ้น เป็นต้น ฉะนั้นต้องระมัดระวังหน่อย ใช้ปุ่ม (~) เปลี่ยนตัวอักษรในโปรแกรมออฟฟิศไม่ได้
ผมได้ลงโปรแกรมวินโดวส์ ME ทับวินโดวส์ 98 แล้วปรากฎว่าเวลาเปลี่ยนตัวอักษรจากไทยเป็นอังกฤษหรืออังกฤษเป็นไทยในโปรแกรมออฟฟิศ ซึ่งเมื่อก่อนใช้ปุ่มบนซ้าย (~) ได้แต่ปัจจุบันใช้ปุ่มนี้เปลี่ยนตัวอักษรไม่ได้แล้ว ต้องใช้ <Shift+Alt> ซึ่งไม่สะดวกมาก ๆ ลองเข้าไปแก้ที่ Control Panel ในหมวด Keyboard แล้วก็ยังไม่ดีขึ้น หรือลงโปรแกรม Office 97 ใหม่ ก็ยังใช้ไม่ได้เหมือนเดิม ขอให้ช่วยแนะนำวิธีแก้ไขด้วยครับ เช่นนี้ทั้งหมดเลยไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Word หรือ Excel
ที่เป็นอย่างนี้เพราะวินโดวส์ ME มีการกำหนดค่าแป้นพิมพ์ลัดไม่เหมือนอย่างที่เราคุ้ยเคย ซึ่งขั้นตอนการแก้ไขนั้นก็ให้เข้าไปแก้ไขค่าใน Control Panel โดยสามารถทำได้ดังนี้
เข้าไปที่ Control Panel โดยการคลิกปุ่ม Start แล้วเลือกไปที่ Settings>Control Panel ดับเบิ้ลคลิกที่ตัวเลือก Keyboard คลิกที่แท็บ Language คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกด้านล่างทั้ง 2 ตัว คลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว ปัญหาในการ Defragment
ทำไมเวลาที่ผมทำการ Scandisk ในวินโดวส์ 98 จึงใช้เวลานานมาก และเมื่อทำการ Defragment ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เมื่อถึง 11 % แล้วปรากฎว่าโปรแกรมมันจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ทุกครั้ง
คำถามนี้มักพบมากเป็นพิเศษซึ่งอาการ Run Program Scandisk แล้วขึ้นคำประมาณว่า Scandisk has restarted 10 time because windows or another program has been writing to this drive. Quitting some running programs may enable Scandisk to finish sooner. หรือเมื่อทำการ Defrag ได้ไม่กี่ % ก็จะกลับมาตั้งต้นที่ 0% ใหม่ ปัญหานี้เกิดจากการที่คุณยังไม่ได้ทำการปิดโปรแกรมที่ยังทำงานอยู่ในขณะนั้น หรือโปรแกรมที่ฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำบางโปรแกรม ที่มีการตรวจเช็คสถานะบางอย่างบ่อย ๆ เช่น โปรแกรม ICQ Netdetect Agent เป็นต้น จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ของเราทำงานโยกย้ายข้อมูลอยู่ตลอดเวลาที่ Scandisk หรือทำการ Defrag ซึ่งการแก้ไขสามารถทำได้ดังนี้ ทำการปิดโปรแกรมที่ใช้งานใน TaskBar ให้หมดก่อน เช่น Scheduled Task, V Shield, RemoveIT เป็นต้น โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าไปที่ System Configuration Utility โดยการคลิกปุ่ม Start แล้วเลือกไปที่ Programs>Accessories>System tools>System Information
เลือกเมนูคำสั่ง Tools>System Configuration Utility ที่แท็บ General ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Diagnostics startup… ในส่วนของ Starup selection แล้วคลิกปุ่ม OK ก็สามารถทำการปิดโปรแกรมที่ใช้งานในTaskBas ได้แล้ว
หยุดการใช้งานโปรแกรมที่ทำงานตลอดเวลา
หยุดการใช้งานโปรแกรมที่ทำงานตลอดเวลา เช่น โปรแกรม WinAMP, WinAMP Agent, Screensaver หรือพวกโปรแกรม Power Management ใน Control Panel โดยให้ทำการตั้งค่าให้เป็น Never ให้หมด ทำการปิดส่วน Active Desktop ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่รันไฟล์ Gif ที่มีการขยับไปมาได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกขวาบนพื้นที่ว่างในส่วนของ Desktop แล้วเลือกไปที่ Properties คลิกไปที่แท็บ Web
คลิกเครื่องหมายถูหน้าตัวเลือก View my Active…ออก
จากนั้นคลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้ก็สามารถปิดส่วน Active Desktop ได้แล้ว เมื่อทำขั้นตอนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เริ่มต้นทำการ ScanDisk ก่อนเพื่อตรวจหาว่ามีส่วนใดของ HDD เสียหรือผิดปกติ หลังจากทำการ ScanDisk เสร็จจึงค่อยทำการ Defrag เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบในการเรียกใช้ครั้งต่อไป อีกวิธีในการแก้ไขปัญหา ก็เพียงทำการ Defrag และ ScanDisk ใน SefeMode เท่านั้นเอง ซึ่งขั้นตอนในการเข้าสู่ส่วน SafeMode สามารถทำได้ดังนี้
1. โดยตอนเปิดเครื่องก่อนเริ่มขึ้น Logo หน้าจอ Starting Windows ให้กดปุ่ม บนคีย์บอร์ดรัว ๆ
2. จากนั้นเลือกตัวเลือกข้อ 3 โดยการกดปุ่ม <3> บนคีย์บอร์ด เพื่อเข้าสู่ SafeMode แล้วทำการ Defrag หรือ Scandisk ตามปกติ

แก้ไขปัญหาหนังไม่มีภาพ เพลงไม่มีเสียง

แก้ไขปัญหาหนังไม่มีภาพ เพลงไม่มีเสียง
ไอคอนลำโพงหายไปไหน
ช่วยด้วยครับ ลำโพงตรงทาส์กบาร์ด้านล่างขวาสุดหายไป ทำยังไงจึงจะให้มีรูปลำโพงปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง ตอนนี้ผมไม่สามารถปรับสียงได้เลย วานช่วยหาวิธีการแก้ไขให้ทีครับ หลายคนเมื่อเจอปัญหานี้ก็มักตกอกตกใจ คิดว่าวินโดวน์เจ็งอีกแล้ว จริง ๆ แล้วปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นมาได้ 2 กรณีคือ
- ไดรเวอร์การ์ดเสียงหายไป
- กำหนดให้ไอคอนลำโพงไม่แสดงขึ้นมา
โดยในกรณีแรกนั้นอาจเกิดจากไดรเวอร์การ์ดเสียงหายไป ทางแก้ไขก็ให้ทำการติดตั้งไดรเวอร์การ์ดเสียงลงทับไปใหม่ ซึ้งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกขวาที่ไอคอน My computer แล้วเลือกคำสั้ง properties
2. คลิกไปที่แท็ป Device Manager
3. คลิกปุ่ม Refresh เพื่อให้วินโดวส์ทำการค้นหาอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์
4. รอสักครู่ก็จะปรากฏหน้าต่าง Add New Hardware wizard ขึ้นมา ซึ่งจะมีตัวเลือก 2 ตัวเลือก คือ
Automatic search . . .
ให้วินโดวส์ทำการค้นหาไดรเวอร์ให้อัตโนมัติ ซึ่งหากว่ามีไดรเวอร์อยู่ในเครื่อง หรือมีแผ่นไดรเวอร์อยู่ในซีดีรอม วินโดวน์ก็จะนำมาติดตั้งให้ทันที
Specify the location
ทำการติดตั้งไดรเวอร์ด้วยตัวเอง
ในที่นี้ขอเลือกตัวเลือก Specify the location…
5. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
6. เลือกไปที่ตัวเลือก Search for the best… เพื่อให้วินโดวส์ค้นหาไดรเวอร์จากไดรว์ซีดีรอมหรือไดรว์ A
7. คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Removable Media ... เพื่อทำการติดตั้งไดรเวอร์จากแผ่นไดรเวอร์ ซึ่งคุณต้องใส่แผ่นไดรเวอร์ลงไปในซีดีรอมด้วย
8. คลิกปุ่ม Next
9. รอสักครู่วินโดวส์ก็จะทำการค้นหาไดรเวอร์ เมื่อค้นหาพบแล้วก็ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
10. คลิกปุ่ม Finish แล้วรอสักครู่ วินโดวส์ก็จะทำการติดตั้งไดรเวอร์ให้ทันทีจากนั้นก็ให้บูตเครื่องใหม่ เมื่อเข้าสู่วินโดวส์อีกครั้ง ก็จะพบกับไอคอนลำโพงปรากฏอยู่บนทาส์กบาร์แล้ว
แต่ถ้าหากว่าปัญหาเกิดจากไอคอนลำโพงได้ถูกกำหนดให้ไม่แสดงขึ้นมา วิธีแก้ไขก็ต้องเข้าไป กำหนดให้วินโดวส์แสดงไอคอนลำโพงขึ้นมา ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start จากนั้นคลิกเลือกตัวเลือก Settings>Control Panel
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sounds and Multimedia
3. เลือกที่แท็ป Sounds
4. ในส่วนล่างของแท็บ Sounds ให้คลิกเลือกที่ตัวเลือก Show Volume…
5. คลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้ลำโพงก็จะปรากฏอยู่บนทาส์กบาร์แล้ว
6 รหัสอันตรายที่ทำให้เครื่องคุณไม่มีเสียง
ข้อผิดพลาด “ MMSystem263. This is not a registered MCI device
- ข้อผิดพลาด “MIDI output error detected.”
- ข้อผิดพลาด “WAV sound playback error detected”
- ข้อผิดพลาด “No wave device that can play files in the current format is installed.”
- ข้อผิดพลาด “ You audio hardware connot play files like the current file.”
- ข้อผิดพลาด “MMSYSTEM296. The file cannot be played on the specified MCI device.”
หากว่าใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ดี ๆ ปรากฏว่าอยู่ ๆ ก็มีข้อความเหล่านี้ขึ้นมาก็ให้ทำใจได้เลยว่า ตอนนี้กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับเสี่ยงวินโดวส์โดยอุปกรณ์ 1 ใน 2 อย่างนี้เป็นตัวก่อปัญหาขึ้นมา Wave Audio device, CD Audio device ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นก็มีดังนี้ ตรวจสอบว่าการ์ดเสียงของคุณเปิดใช้งานหรือยัง
1. คลิกขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกคำสั่ง Properties
2. คลิกไปที่แท็ป Device Manager
3. คลิกเครื่องหมาย (+) ที่ตัวเลือก Sound, Video and Game Controllers
4. ดับเบิ้ลคลิกที่การ์ดเสียง
5. แล้วตรวจสอบว่าที่ตัวเลือก Disable in this hardware profile มีเครื่องหมายถูกอยู่หรือเปล่า ถ้ามีเครื่องหมายถูกหน้าตัว Disable in this hard ware profile อยู่ก็ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกนี้ออก
6. คลิกปุ่ม OK 2 ครั้ง แล้ววินโดวส์จะถามว่าต้องการที่บูตเครื่องใหม่หรือไม่ ก็ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ เมื่อบูตเครื่องขึ้นมาก็ลองตรวจดูว่ามีเสียงออกมาหรือยัง
ตรวจสอบว่าการ์ดเสียงได้รับเลือกให้เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการแล้วหรือยัง
1. ไปไหนส่วน Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sound and Multimedia เลือกที่แท็บ Audio ในส่วนของ Sound Playback และ Sound Recording ให้ตรวจสอบว่าเลือกการ์ดเสียงในกล่อง Preferred device แล้วหรือยัง ถ้ามีการเลือก (None) หรืออุปกรณ์อื่นในกล่อง preferred device ก็ให้เลือกเป็นรุ่นการ์ดเสียงที่ใช้แทน คลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า
ตรวจสอบว่า วินโดวส์ได้กำหนดค่าให้ใช้คุณลักษณะเสียงของการ์ดเสียงแล้วหรือยัง
1. เข้าไปในส่วน Multimedia ที่ Control Panel แล้วคลิกที่แท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Audio Devices ดับเบิ้ลคลิกที่การ์ดเสียง จากนั้นตรวจสอบว่าได้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Use audio features on this device แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ได้เลือกก็ให้คลิกเลือกตัวเลือกนี้ เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK จนกระทั่งกลับไปยัง Control Panel ให้ปิดหน้าต่าง Control Panel แล้วทำการบู๊ตเครื่องใหม่
ตรวจสอบว่าคุณติดตั้งอุปกรณ์ Wave Audio แล้วหรือยัง
1. ให้เข้าไปที่ส่วน Multimedia ใน Control Panel แล้วคลิกที่แท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Media Control Devices ดูให้แน่ใจว่าได้ติดตั้ง Wave Audio Device (Media Control) หรือยังถ้าหากว่ามีการติตตั้งแล้วก็ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Wave Audio Device (Media Control) ดูให้แน่ใจว่าได้เลือกตัวเลือก Use this Media Control device แล้วถ้ายังก็ให้คลิกเลือก คลิกปุ่ม OK
แต่ถ้ายังไม่ได้ติดตั้ง Wave Audio Device (Media Control) ก็ให้กลับไปหน้า Control Panel ก่อนแล้วให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Add New Hardware คลิกปุ่ม Next ไปเรื่อย ๆ วินโดวส์ ก็จะถามว่าต้องการที่จะให้วินโดวส์ ทำการหาอุปกรณ์ให้โดยอัตโนมัติหรือไม่ ให้เลือกตัวเลือก No. I want to select….. คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป
ภายใต้ส่วนของ Hardware types ให้คลิกเลือกตัวเลือก Sound, Video and Game Controllers คลิกปุ่ม Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไป ในส่วนของ Manufacturers ให้เลือกตัวเลือก Microsoft MCI แล้วให้คลิกเลือกตัวเลือก Wave Audio Device (Media Control) ในส่วนของ Models คลิกปุ่ม Next ต่อมาคลิกปุ่ม Finish
ถ้าได้รับแจ้งให้ใส่ซีดีรอมติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์ ก็ให้ใส่แผ่นติดตั้งลงไป แล้วคลิกปุ่ม OK เลือกไปที่โฟลเดอร์วินโดวส์ที่อยู่ในแผ่นซีดีรอม จากนั้นก็คลิกปุ่ม OK สุดท้ายวินโดวส์ก็จะทำการติดตั้งไฟล์ เมื่อติดตั้งเสร็จวินโดวส์จะให้ทำการบู๊ตเครื่องใหม่ ก็ให้คลิกปุ่ม Yes ได้ทันที เมื่อเข้าวินโดวส์อีกครั้งก็ให้ลองตรวจสอบดูว่า ปัญหาแก้ไขได้แล้วหรือยัง
ตรวจสอบว่าคุณติดตั้งอุปกรณ์เสียงซีดีแล้วหรือยัง
1. ขั้นแรกให้เข้าไปในส่วน Multimedia ของ Control Panel แล้วคลิกแท็บ Devices คลิกเครื่องหมาย + หน้าตัวเลือก Media Control Devices
ดูให้แน่ใจว่าการแสดง CD Audio Device (Media Control) ในรายการแล้วหรือยัง ถ้ามีการแสดงอุปกรณ์นี้ในรายการแล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ตัวเลือก CD Audio Device (Media Control) ดูให้แน่ใจว่าได้เลือก Use this Media Control dอvice แล้วหรือยัง
ถ้ายังก็ให้คลิกเลือกตัวเลือก Use this Media Control device จากนั้นคลิกปุ่ม OK จนกระทั่งกลับเข้าสู่ส่วนของ Control Panel อีกครั้ง ก็ให้คุณลองทดสอบดูว่าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง
ในกรณีที่ไม่มีการแสดงอุปกรณ์ CD Audio Device (Media Control) นี้ในรายการ ก็ให้ติดตั้งอุปกรณ์นี้ ในส่วนของ Models ก็ให้เลือกตัวเลือก CD Audio Device (Media Control) แทนเท่านั้นเองครับ วิธีแก้ไขภาพกระตุกเมื่อชมภาพยนตร์
ในการชมภาพยนตร์นั้นหากว่าอัตราการรีเฟรซภาพ (การกะพริบของหน้าจอ) ไม่เร็วภาพที่ออกมาก็จะมีอาการกระตุก ๆ แต่อาการกระตุกก็อาจเกิดจากเครื่องเล่นซีดีเก่าเกินไปหรือแผ่นที่ดูนั้นอาจไม่ดีก็ได้ ซึ่งหากว่ามีการรีเฟรซแล้วอาการกระตุกยังไม่หาย ก็ให้ตรวจสอบจากจุดนี้ด้วยโดยขั้นตอนการปรับอัตราการรีเฟรซของภาพให้เร็วขึ้นก็สามารถทำได้ดังนี้
1. คลิกขวาบนพื้นที่ว่าง ๆ ของเดสก์ทอป แล้วเลือกไปที่คำสั่ง Properties
2. คลิกไปที่แท็ป Settings
3. เลือกสีในส่วนของ Color เป็น 256 Color
4. เลือกความละเอียดในส่วนของ Screen ไปที่ 640 by 480 pixels
5. คลิกปุ่ม Ok เพื่อทำการบันทึกค่า เพียงเท่านี้ก็จะทำให้อัตราการรีเฟรซของภาพเร็วขึ้นแล้วครับ วิธีการปรับแต่งไมโครโฟน
ในการปรับแต่งไมโครโฟนนั้นสามารถปรับแต่ได้ในส่วนของ Sound ที่อยู่ใน Control Panel โดยเมื่อทำการเสียบไมโครโฟนลงไปในซาวน์การ์ดแล้วก็สามารถทำงานได้ทันที แต่ในบางครั้งเราอาจจะไปปิดเสียงของไมโครโฟนไว้ ผลที่ตามมาเมื่อพูดใส่โมโครโฟนก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น (ทำให้หลายคนคิดไปว่าไมโครโฟนเสียแน่ ๆ ) ซึ่งขั้นตอนในการใช้ไมค์นั้นสามารถทำได้ดังนี้
1. ดับเบิ้ลคลิกไอคอนรูปลำโพงข้างล่างทางซ้ายมือของจอภาพ
2. คลิกเมนูคำสั่ง Option>Properties
3. จะพบตัวเลือกให้เลือกอยู่ 2 ตัวเลือกคือ
- Playback
แสดงรายละเอียดของเสียที่จะออกมา
- Recording
แสดงรายละเอียดของการปรับรายละเอียดของการอัดเสียง ก็ให้เลือกที่ตัวเลือกแรก
4. คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Microphone ในส่วนของ Show all…
5. คลิกปุ่ม OK
6. เพียงเท่านี้ก็สามารถปรับเสียงดัง-เบาได้แล้ว โดยการเลื่อนตัวปรับระดับเสียงในส่วนของ Microphone
7. หากว่าต้องการปรับรายละเอียดเพิ่มเติมของไมโครโฟน ก็ให้คลิกปุ่ม Advanced
8. ซึ่งเราสามารถปรับเสียงสูง (Treble) เสียงต่ำ (Bass) ได้ในส่วนของ Tone Controls
9. เมื่อทำการปรับแต่งจนพอใจแล้ว ก็ให้คลิกปุ่ม Close เท่านี้ก็สามารถใช้งานไมโครโฟนได้แล้วครับ

แก้ไขปัญหาอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด

แก้ไขปัญหาอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด

ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น
จริงแล้วสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิดจากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ ส่วนสาเหตุทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์เป็นจำนวนมาก หรือเกิด แบดเซ็กเตอร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บข้อมูลสำคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ โดยจะแสดงอาการเงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk Boot failure Please insert system disk and please anykey to continue
สำหรับวิธีแก้ไขนั้น ให้เราทำการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้ คำสั่ง Scandisk หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบแบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซมดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทำ Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้วพยายามกันส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป
บางครั้งสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจเกิดจากแผ่น PCB ( แผ่นวงจรด้านล่างของฮาร์ดดิสก์ ) เกิดการช็อต วิธีแก้ไขคือให้นำฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็คเหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ช็อตกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม
หากต้องการกู้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาไม่ควรใช้คำสั่ง Fdisk เด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไปหมด ในที่นี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูลสำคัญๆ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ ปัญหาที่เกิดจากซีพียู ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียดซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็นเหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่สถานเดียว
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows บอกว่ามีแรมแค่ 96MB. เอง
อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ครับ "Insert System Disk and Press Enter"
อยู่ ๆ ผมไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น โดยจะขึ้นข้อความว่า "Insert System Disk and Press Enter" ทั้ง ๆ ที่ผมไม่ได้ทำการปรับแต่งวินโดวส์ เลย
ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี OS หรือระบบปฎิบัติการอยู่ในไดรว์ A ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา แผ่นไดรว์ A ออกจากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าวินโดวส์ได้แล้ว ไดรว์ซีดีรอม อ่านแผ่นได้บ้างไม่ได้บ้าง หาแผ่นไม่เจอ แก้ปัญหาอย่างไร
ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดรว์ซีดีรอมตัวใหม่ ๆ ครับ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับไดรว์ซีดีรอมที่มีการใช้งาน มานานแล้ว หรือประมาณ 1 ปีขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่านสกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับแผ่นซีดี แล้วเราก็นำมันเข้าไปอ่านในไดรว์ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอสะสมมาก ๆ เข้าก็เลย ทำให้เกิด อาการดังกล่าว อ่านแผ่นไม่ได้บ้างละ หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใช้แผ่นซีดีที่ไว้สำหรับทำความสะอาดหัวอ่าน ที่มีขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไปมาใช้ รับรองอาการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ปัญหาของซีดีออดิโอ
ถ้าคุณเล่นซีดีออดิโอใน CD Writer แล้ว Windows Media หรือ CD Playar แสดงข้อความ "Please insert an audio compact disk" หรือ Data or no disk loaded อาจมีสาเหตุมาจากไดรเวอร์ วิธีแก้คือ ให้เปิด Control Panel เลือก Sound &Multimedia คลิก Devices ดับเบิลคลิก ที่ Media Control Devices และ CD Audio Devices (Media Control) คลิก Remove และ Yes คลิก OK เพื่อปิด หน้าต่างทั้งหมดและบูตเครื่องใหม่ อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้แผ่น CD-ROM เล่นเพลงจนแผ่นแตก
กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วครับ เรื่องไดรว์ CD-ROM ทำแผ่นแตก ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะไดรว์ ที่ผลิตในปัจจุบันมีความเร็วสูง ทำให้เมื่ออ่านแผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่มีรอยขีดข่วนลึก ๆ ก็ทำให้เกิดสะดุดเป็นผล ทำให้แผ่นแตก ซึ่งปัญหานี้เราจะไม่พบในไดรว์รุ่นเก่า ๆ เลย ทางแก้ก็คือหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นที่มีคุณภาพต่ำ หรือแผ่นที่เป็นรอยมาก ๆ แบตเตอรี่เสื่อมทำอะไรกับเครื่องคุณได้บ้าง
บางครั้งเมื่อเราเปิดเครื่องคอมฯ ขึ้นมาปรากฎว่าเจอกับข้อความ "CMOS CHECKSUM ERROR" หรือไม่เมื่อเราใช้เครื่องคอมฯ ไปเรื่อย ๆ จะสังเกตุเห็นว่านาฬิกาของเครื่องดูเหมือนจะเดินช้าลงนั่น แสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่ที่อยู่ในเมนบอร์ดของเรากำลังจะหมด และถ้ายังคงใช้งานต่อไปโดยไม่หา แบตเตอรี่มาเปลี่ยนก็จะทำให้ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ใน BIOS SETUP หายไปได้ อย่างเช่นค่าของ ฮาร์ดดิสก์ว่า เป็นชนิดอะไร ทำให้เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ เราจะต้องตั้งค่าเหล่านี้ใหม่ทุกครั้ง "Bad or Missing Interpreter" มันคืออะไร
ปัญหาลักษณะนี้จะเกิดจากไฟล์ Command.com นั้นเกิดความเสียหาย หรือถูกลบทิ้งไป ซึ่งทางแก้ไขก็คือให้คุณทำการ ก๊อปปี้ไฟล์ Command.com จากเครื่องอื่น ซึ่งต้องเป็นวินโดวส์รุ่นเดียวกัน หรือจากแผ่น Start Up ดิสก์ที่สร้างจากเครื่อง คุณก็ได้ โดยเมื่อก๊อปปี้ไฟล์ได้แล้วก็ให้ใส่แผ่นในไดรว์ A แล้วเข้าไปที่ A : Promt จากนั้นก็พิมพ์คำสั่ง copy a:\command.com c: เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานคอมได้เป็นปกติ "8042 GATE-A20 Error" มันคืออะไร
หากว่าพบข้อความ 8042 GATE-A20 Error ปรากฎขึ้นมา นั่นแสดงว่าชิปที่ควบคุมการทำงานของแป้นพิมพ์บนเมนบอร์ด มีปัญหาหรืออาจเกิดจากปลั๊กเสียบไม่แน่น ให้คุณทำการปิดเครื่องแล้วลองขยับปลั๊กให้แน่นขึ้นดู หากยังไม่หายนั้นแสดง ว่าเมนบอร์ดของคุณมีปัญหาแล้ว ควรที่จะยกไปให้ซ่อมหรือไปเปลี่ยนกับทางร้านที่คุณซื้อมา (ถ้ายังมีประกัน) ทำไมเสียงไม่สามารถแสดงออกมาพร้อมกัน 2 เสียงได้
โดยทั่วไปแล้วการ์ดเสียงส่วนใหญ่จะสามารถทำได้อยู่ ปัญหาน่าจะเกิดมาจากการ์ดเสียงหรือว่าโปรแกรม DirectX ซึ่งการแก้ไขก็ให้คุณลองนำการ์ด เสียงตัวที่คุณใช้แล้วมีปัญหา ไปลองกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ดู หรือลองอัพเดต โปรแกรม DirectX ให้สูงกว่าเวอร์ชั่น 6 ถ้าหากไม่หายแสดงว่าการ์ดเสียงของคุณมีปัญหา แล้วละครับ


Disk Boot Failure
สาเหตุอาจเกิดจาก
เกิดจากคุณอาจลืมแผ่นดิสที่บูทไม่ได้ไว้ในไดร์ฟ A: หรือ แผ่น CD ไว้ในไดร์ฟ CD (กรณีตั้งซีมอสให้บูทที่ซีดีได้) หรือเกิดจากฮาร์ดดิสที่เป็นตัวบูท C: ไม่สามารถใช้งาน ได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าในซีมอสทำให้ไม่ตรงรุ่นของฮาร์ดิส
การแก้ปัญหา
1. ตัว Harddisk มีจานแม่เหล็กที่มีผิวเสียหายมากไม่สามรถใช้งานได้อีกต่อไป
2. ขณะที่ทำการ Scandisk ใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือพบพื้นที่เสียหายมากและต่อเนื่องให้ยกเลิกไปทำการ Format แทน (แต่โอกาสที่จะใช้ได้มีน้อยมากเนื่องจากผิวจานแม่เหล็กเสียหายมาก)
3. ตัวควบคุม Harddisk หรือสายแพรที่ใช้ต่อ Harddisk กับ Controler บน MainBoard เสียหรือเสื่อมสภาพ (จะมีโอกาสเกิดน้อยกว่าความเสียหายบนตัว Harddisk เอง) หลังจากทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วยังเกิดอาการดังกล่าวอีกให้ทำการ Format Harddisk ตัวนี้ โดยทำดังนี้
1. Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk
2. เรียกคำสั่ง Format แบบเต็ม (Full Format) ดังนี้ โดยพิมพ์คำสั่งที่เอพร้อม a:/format c:/s และกด Enter และ ตอบ y และ Enter
3. ในขณะที่ทำการ Format โปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของจานแม่เหล็กถ้าพบจุดเสียที่ใดก็จะทำการบันทึก ไว้ในตาราง FAT ของตัว Harddisk เพื่อไม่ให้โปรแกรม อื่นๆ นำพื้นที่นี้ไปใช้ได้อีก (จุดที่เสียจะเรียกว่า BAD Sector)
4. จากนั้นก็สามารถนำไปลง OS Program ต่อไปได้
5. หากยังเกิดอาการดังกล่าวอีกแนะนำให้เปลี่ยนตัว Harddisk ครับ คงจะไม่ไหวแล้วจริงๆ

Harddisk ไม่ทำงาน (ไม่มีเสียง Motor หมุน)
สาเหตุอาจเกิดจาก
1. เกิดจากไม่มีไฟเลี้ยงตัว Mortor และวงจรควบคุมตัว Mortor
2. ตัวควบคุมการทำงาน (Controler) บนตัว Harddisk เสียหาย
3. สายบางเส้นที่ต่อจาก Harddisk กับตัวควบคุมบน Mainboard หลวมหรือหลุดหรือเกิดสนิม
การแก้ปัญหา
1. ตรวจสอบสายต่อไฟเลี้ยงดูว่าแน่นหรือเกิดสนิมหรือเปล่า โดยการถอดออกมาแล้วตรวจดูว่าเป็นปกติหรือไม่ แล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่
2. เปลี่ยนสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับตัว Harddisk เส้นใหม่ดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า
3. ทดลองเปลี่ยนสายแพร หรือถอดออกดูก่อนแล้วเปิดเครื่องเพื่อดูว่าทำงานได้หรือเปล่า
4. อาจลองนำเอาสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับ CD-ROM Drive มาต่อดูก็จะรู้ได้ว่าสายจ่ายไฟเลี้ยงเสียหรือเปล่า

Sector not fond error reading in drive C:
สาเหตุอาจเกิดจาก
1. ปัญหานี้จะคล้ายกับอาการ Data error reading in drive C: หรือ BAD Sector แต่ส่วนที่เกิดปัญหานี้จะเกิดกับส่วนของ File Allocation Table (FAT) ไม่ใช่ที่ตัวพื้นที่เก็บข้อมูลจริง
2. ส่วนของฮาร์ดดิสที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ FAT มีปัญหาเช่นเกิดการเสื่อมของสารแม่เหล็กหรือเกิดรอยที่ผิวของจานแม่เหล็ก เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน
การแก้ปัญหา
1. ทำเช่นเดียวกับปัญหา BAD Sector แต่ในส่วนโหมดของการ Scan ให้เลือกเป็นแบบ Standard ก็พอ โดยโปรแกรมจะทำการตรวจในส่วนของ File Allocation Table (FAT) และ Folders และเมื่อโปรแกรมตรวจพบข้อผิดพลาดก็จะทำการซ่อมแซมค่าที่ผิดพลาดนั้นๆ ให้กลับเป็นปกติ หรืออาจบันทึกเป็นชื่ออื่นแต่ตัวข้อมูลจะยังอยู่ซึ่งเราต้องเข้าไปแก้ไขเองอีกครั้ง ซึ่งปัญหาที่มักจะเกิดก็ได้แก่ Cross link, Folders error ที่เกิดขึ้นในตาราง FAT ซึ่ง Files ที่มักจะสร้างปัญหาบ่อยๆ ก็ได้แก่ประเภทที่มีส่วนขยายเป็น TMP ซึ่งมักจะถูกเก็บอยู่ที่โฟเดอร์ชื่อ TEMP (c:\windows\temp) ซึ่ง Files เหล่านี้ จะถูกสร้างจากโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง ซึ่งผู้ใช้งานควรที่จะทำการลบ Files พวกนี้ทิ้งเป็นประจำ การลบ temp files ทำได้โดยการเข้าไปที่โฟรเดอร์ดังนี้ และทำการเลือกทุก files และกดปุ่ม DELETE ที่แป้นคีบอร์ด (C:/windows/temp/*.tmp)
2. หากแก้ไขตามข้อแรกไม่ได้ผลควรที่จะทำการ Format ฮาร์ดดิสใหม่ และลงโปรแกรมใหม่เพื่อเป็นการจัดและเริ่มต้นระบบใหม่ซึ่งจะมีผลให้ความเร็วในการทำงานของเครื่องเพิ่มขึ้นด้วย
ก่อนการทำการ Format ฮาร์ดดิสต้องแน่ใจว่าไม่มีความจำเป็นต้องรักษาข้อมูลบนตัวฮาร์ดดิส หรือได้สำรองข้อมูลที่สำคัญไว้ในสื่ออื่นๆ แล้ว การ Format ทำได้โดย Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk แล้วใช้คำสั่ง a:/format c:/s เพื่อทำการจัดเตรียมพื้นที่ใหม่ โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของแผ่นจานเก็บข้อมูล และเมื่อไม่สามารถอ่านพื้นผิวบริเวณใดก็จะระบุตำแหน่งจุดที่เสียบนพื้นผิวเพื่อที่โปรแกรม Windows จะไม่ไปใช้พื้นที่นั้นในการเก็บข้อมูล
การป้องกันปัญหา:
1. ทำการ Scandisk ทุกๆ สัปดาห์
2. ลบ temp files ใน Windows/temp ทิ้งให้หมดหลังจากการทำ Scandisk แล้ว (ก่อนทำการ Scandisk และลบ temp file ทิ้ง ควรทำการปิดโปรแกรมทุกตัวก่อนทุกครั้ง)
3. ใช้โปรแกรม Disk Cleanup ช่วยในการลบ files ที่ไม่จำเป็นทิ้งโดยเริ่มต้นที่ Start Menu/Programs/Accessories/System tools/Disk Cleanup จากนั้นทำเครื่องหมายถูกที่หน้า Temporary files
Data Error Reading in Drive C:
สาเหตุอาจเกิดจาก
เนื่องจากโปรแกรมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากผิวของตัวจานเก็บข้อมูลได้
การแก้ปัญหา
เรียกโปรแกรม Scandisk ขึ้นมาโดย
1. ดับเบิลคลิกที่ My Computer
2. ชี้ mouse ไปที่ Drive ที่ต้องการจะทำการ Scan
3. คลิกปุ่มขวาของ Mouse เลือก Properties
4. เลือก TAB Tools
5. กดปุ่ม [Check Now...] บน Windows Propeties
6. เลือกรูปแบบการ Scan เป็น [Thorough]
7. ทำเครื่องหมายถูกหน้า Automatically fix errors
8. เริ่มทำการ Scan โดยกดที่ปุ่ม Start
9. เมื่อทำการ Scan จนเสร็จแล้วจะมีหน้าต่างแสดงค่าที่ทำการ Scan ให้ดู (ScanDisk Results- [c:] ให้สังเกตุดูที่หัวข้อ bytes in bad sectors ถ้ามีตัวเลขขึ้นแสดงว่าโปรแกรม Scan ตรวจพบส่วนที่เสียหายของผิวจานแม่เหล็กของ Hardisk
10. กดปุ่ม close เพื่อทำการปิดโปรแกรม ScanDisk
11. ในขณะนี้โปรแกรม ScanDisk จะทำการตรวจสอบส่วนต่างๆ ของ Harddisk เรียบร้อยแล้วและได้ทำการทำเครื่องหมายบริเวณที่ไม่สามารถอ่านได้แล้วลงบนตารางแฟ็ท (FAT=File Allocation Tables), Folders หลังจากทำการ Scandisk เสร็จแล้วอาการดังกล่าวน่าจะหายไป

คอมพิวเตอร์ชอบรีสตาร์ทบ่อย ๆ สาเหตุเกิดจากอะไร

คอมพิวเตอร์ชอบรีสตาร์ทบ่อย ๆ สาเหตุเกิดจากอะไร
ปัญหาคอมพิวเตอร์ชอบรีสตาร์ทบ่อย ๆ หลายครั้งมักเกิดหลังจากการอัพเกรดอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปใหม่ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้แรมคนละยี้ห้อ หรือมีบัสที่แตกต่างจากแรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นการตรวจเช็คจึงควรถอดแรมที่อัพเกรดเข้าไปใหม่ออกเสียก่อน แล้วจึงทดลองใช้งานหากปัญหานี้หมดไป นั่นแสดงว่าป็นเพราะแรมตัวใหม่ นั่นเอง
นอกจากแรมแล้วยังมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องชอบรีสตาร์ทอยู่บ่อยนั่นคือเพาเวอร์ซัพพลาย หากภายในเคสของเรามีการติดตั้งอุปกรณ์มากเกินไปและแต่ละตัวก็ล้วนกินไฟค่อนข้างมาก เช่น ติดตั้ง ฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว หรือติดตั้งการ์ดจอ 3 มิติราคาแพง อุปกรณ์เหล่านี้อาจทำให้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่เพียงพอจนทำให้เครื่องต้องรีสตาร์ทใหม่อยู่บ่อย ๆ ทางแก้คือให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายตัวใหม่ที่มีวัตต์สูงกว่าเดิม

คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง แก้อย่างไร

คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง แก้อย่างไร
ใครที่ใช้งานคอมพิวเตอร์มานานก็พอจะสัมผัสความรู้สึกนี้ได้ แล้วมักจะเชื่อว่าควรจะอัพเกรด เครื่องด้วยการเปลี่ยนซีพียูใหม่ หรือไม่ก็เพิ่มแรมได้แล้ว แต่จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์แล้ว กลับมองว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่เชื่อ คุณก็ควรลองเปลี่ยนมาใช้งาน วินโดวส์ 98 และ Me ดู คุณจะพบว่าคอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้เร็วกว่าเดิม แต่จะเร็วแค่ไหน คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย
สมัยนี้ คุณควรมีหน่วยความจำในเครื่องอย่างน้อย 64 เมกะไบต์ หากคุณต้องใช้งานแอพพลิเคชั่น หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน ถ้าคุณมีหน่วยความจำน้อยกว่า 64 เมกะไบต์ละก็ คุณจะรู้สึกเหมือนว่า หน่วยความจำที่คุณถูกดูดหายไปเลยทีเดียว แต่ถ้าคุณมีหน่วยความจำมากเพียงพอ แล้วละก็ คุณจะสามารถ จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการทำหน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) และค้นหา หน่วยความจำที่พร่องหายไป (Memory Leak) ได้
สำหรับหน่วยความจำเสมือนนี้ เป็นแฟ้มข้อมูลเฉพาะในพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ โดยปกติเราจะเรียก กันว่า "สวอปไฟล์ ( SWAP FILE ) " เมื่อเครื่องพีซีของคุณเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำมาก เกินไป วินโดวส์จะช่วยปรับขนาดของสวอปไฟล์ตามใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงตามความต้องการ หาก พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ของคุณไม่มีเนื้อที่เพียงพอ สวอปไฟล์จะไม่สามารถขยายตามต้องการได้ทำให้เครื่องของคุณทำงานช้าลง
วิธีแก้ไขก็คือลบหรือย้ายแฟ้มข้อมูลบางส่วนออกจากฮาร์ดดิสก์ อีกวิธีคือย้ายสวอปไฟล์ไปอีก พาร์ติชั่นหรือฮาร์ดดิสก์ลูกอื่นที่มีพื้นที่เพียงพอ สำหรับวินโดวส์ 9x หรือ Me ให้คุณมาที่ Desktop คลิ๊กที่ปุ่มเม้าส์ขวาที่ My Computer เลือก Properties เลือกแถบ Performance เพื่อเลือก Virtual Memory คุณจะเห็นรายการสำหรับกำหนดค่าของ Virtual Memory ให้คุณเลือก Let me specify my own virtual memory setting ส่วนวินโดวส์ 2000 ให้คุณเลือก Advanced เลือก Performance Options และเลือกChange ครับ
สำหรับวิธีค้นหาหน่วยความจำที่พร่องหายไป มักจะเกิดจากซอฟต์แวร์บางตัวเสียหาย หรือไม่ก็ ออกแบบมาไม่ดีพอในการกำหนดขนาดของหน่วยความจำเมื่อต้องการใช้งาน หากคุณเปิด
แอพพลิเคชั่นต่างๆ หลายๆ ตัว จะทำให้กินเนื้อที่ในหน่วยความจำมากขึ้น จนกระทั่งระบบของ คุณไม่มีหน่วยความจำเพียงพอ การบู๊ตเครื่องใหม่อาจช่วยให้แก้ปัญหานี้ได้ชั่วคราว โดยการ กำหนดค่าของหน่วยความจำให้เป็นปกติ
การค้นหาแหล่งที่มาของส่วนที่พร่องหายไปทำได้โดยเลือก Start เลือก Programs เลือก Accessories และเลือก System Tools เพื่อใช้เรียกยูทิลิตี้ของ System Monitor มาตรวจสอบการใช้งานของหน่วยความจำ หากคุณหาไม่พบก็ให้ติดตั้งไปใหม่จากแผ่น CD ของ วินโดวส์ โดยการใช้คำสั่ง Add/Remove Programs จากนั้นก็ทำการกำหนดขนาดของ หน่วยความจำ โดยเลือก View เลือก Numeric Charts และ View และ Always on Top เพื่อเลือก Edit และ Add Item
ในรายการตัวเลือกที่ปรากฏอยู่ให้คุณเลือก Memory Manager จากนั้นให้กดปุ่ม <Ctrl> ค้าง ไว้เพื่อเลือกรายการ Unused physical memory (หรือ Free Memory ในวินโดวส์ 95) เลือก Swapfile in use และ Swapfile size ให้คุณลองใช้งานและเปิด-ปิดแอพพลิเคชั่น หลาย ๆ อย่าง เพื่อตรวจสอบว่าโปรแกรมเหล่านี้ใช้หน่วยความจำมากน้อยเพียงใด และโปรแกรม ใดไม่คืนความจำให้หลังจากปิดโปรแกรม

คอมพิวเตอร์ไม่ทำงานเมื่อคุณสั่งชัตดาวน์

คอมพิวเตอร์ไม่ทำงานเมื่อคุณสั่งชัตดาวน์
ทำไมคอมพิวเตอร์ของผมจึงหยุดการตอบสนองเอาดื้อ ๆ ทุกครั้งที่ผมทำการปิดระบบวินโดวส์ 98 จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ปัญหานี้มีพบเห็นได้บ่อยครั้งจากผู้ใช้หลาย ๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่มักตีความเป็นว่าวินโดวส์เสีย สุดท้ายก็ทำการลบวินโดวส์แล้วลงใหม่ แต่ความจริงแล้วสาเหตุที่ทำให้เครื่องหยุดการตอบสนอง เมื่อใช้คำสั่งชัตดาวน์นั้นมากจากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุอะไรได้ดังนี้ 
ตรวจสอบว่าแฟ้มเสียง Exit Windows เสียหายหรือไม่ 
ถ้าหากว่ามีการตั้งเสียงให้กับวินโดวส์ในส่วนของ Sounds แล้วไฟล์เสียงในส่วนของการออกจากวินโดวส์ (Exit Windows) นั้นเสีย ก็จะทำให้มีปัญหาในการชัตดาวน์ขึ้นมาทันที ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบและทางแก้ไขปัญหาก็มีดังนี้ 
1. คลิกปุ่ม Start แล้วเลือกไปที่ Settings>Control Panel จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sounds and … 
ที่แท็บ Sound ในส่วนของ Sound Events ให้คลิกที่ตัวเลือก Exit Windows 
จากนั้นกำหนดค่าในส่วนของ Name ให้เป็น (None) แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า
แล้วทำการทดสอบปิดระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าหากว่าวินโดวส์ 98 ปิดระบบได้อย่างถูกต้อง ปัญหา เกิดจากแฟ้มเสียหาย ให้เลือกหนึ่งในปฏิบัติการต่อไปนี้เพื่อแก้ไขปัญหา 
- ทำการก็อปปี้แฟ้มเสียงจากเครื่องอื่นมาใส่ 
- ติดตั้งโปรแกรมที่มีแฟ้มเสียงนั้นใหม่อีกครั้ง 
- กำหนดค่าให้เป็น (None) เพื่อไม่ให้มีการเล่นแฟ้มเสียง Exit Windows ต่อไป 
ตรวจสอบความสามารถการปิดระบบอย่างรวดเร็ว (Fast shutdown) 
การปิดระบบอย่างรวดเร็วเป็นคุณลักษณะใหม่ที่รวมอยู่ในวินโดวส์ 98 เพื่อช่วยลดเวลาที่ใช้ในการปิดระบบคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามคุณลักษณะนี้เข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่าง และสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณหยุดการตอบสนองถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งหากว่าเครื่องของคุณเกิดปัญหาก็ให้ลองปิดคุณสมบัติดูดังนี้ 
1. คลิกปุ่ม Start จากนั้นเลือกไปที่คำสั่ง Run แล้วพิมพ์คำว่า Msconfig ในส่วนของ Open จากนั้นคลิกปุ่ม OK 
ในส่วนของแท็บ General ให้คลิกปุ่ม Advanced คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Disable fast shutdown จากนั้นคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า แล้วคลิกปุ่ม Ok อีกครั้ง
รอ สักครู่วินโดวส์จะแสดงข้อความให้บู๊ตเครื่องใหม่ ก็ให้คลิกปุ่มเพื่อทำการบู๊ตเครื่องใหม่ได้ทันที เมื่อเข้าสู่วินโดวส์อีกครั้ง ก็ให้ลองปิดระบบคอมพิวเตอร์ถ้าคอมพิวเตอร์ปิดระบบอย่างถูกต้อง คุณลักษณะการปิดระบบอย่างรวดเร็วอาจเข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อย่าง น้อยหนึ่งอย่างที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณ คราวนี้ก็ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนใด ๆ เพิ่มเติมแล้ว

เครื่องคอมพิวเตอร์มักจะแฮงค์ ปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ ก็ใช้งานต่อได้อีกสักพักแล้วก็แฮงค์อีก

เครื่องคอมพิวเตอร์มักจะแฮงค์ ปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ ก็ใช้งานต่อได้อีกสักพักแล้วก็แฮงค์อีก
อาจจะเกิดจากความร้อนสูงเกินไป อย่างแรกให้ตรวจสอบพัดลมต่าง ๆ ว่าทำงานปกติดีหรือเปล่า หากเครื่องทำ Over Clock อยู่ด้วยก็ทดลองลดความเร็วลงมา ใช้แบบงานปกติดูก่อนว่ายังเป็นปัญหาอยู่อีกหรือเปล่า ถ้าใน bios มีระบบดูความร้อนของ CPU หรือ Main Board อยู่ด้วยให้สังเกตค่าของ อุณหภูมิ ว่าสูงเกินไปหรือเปล่า ทั้งนี้อาจจะทำการเพิ่มการติดตั้งหรือเปลี่ยนพัดลมของ CPU ช่วยด้วยก็ดี

เครื่องคอมฯ เสียงดังรบกวนขณะทำงานแก้ไง

เครื่องคอมฯ เสียงดังรบกวนขณะทำงานแก้ไง
ปัญหานี้สาเหตุเบื้องต้นอาจเกิดจากพัดลมในเคส บริเวณด้านหลังเครื่อง ซึ่งปัญหานี้ไม่มีอันตรายต่อระบบเครื่องแต่อาจอาจจะก่อความรำคาญได้
คุณอาจจะตรวจวิธีการติดตั้งพัดลมดูใหม่อีกครั้งว่าติดแน่นดีหรือไม่ และอย่าลืมตรวจว่าอุปกรณ์ได้วางถูกตำแหน่งหรือไม่ อาจจะต้องหนุนโฟมไว้รอบสกรูยึดทั้งสี่ตัว เพื่อเป็นการลดแรงสั่นสะเทือน ถ้าหากว่าติดแน่นดีแล้วก็อาจจะเป็นที่มอเตอร์ของพัดลมมีฝุ่นจับหรือเสียแล้วก็เป็นไปได้ ให้ซื้อพัดลมตัวใหม่มาติดตั้ง ซึ่งไม่ยาก และประหยัด อีกด้วย

เครื่องบูตขึ้นแต่ไม่สามารถเข้าวินโดวส์ได้

เครื่องบูตขึ้นแต่ไม่สามารถเข้าวินโดวส์ได้
กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านขั้นตอนการ POST แล้ว แต่กลับมาค้างที่หน้าจอแสดงโลโก้วินโดวส์ทำให้ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้เลย บางครั้งก็ยังไม่แสดงโลโก้ของวินโดวส์แต่กลับมีข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Missing Operation System” 
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ก่อน ว่าได้มีการลบไฟล์ระบบบางตัวออกไปหรือเปล่า ส่วนใหญ่ปัญหานี้มันเกิดจากไฟล์ระบบ COMMAND.COM เสียหายหรือถูกลบทิ้งไปเนื่องจากว่าไฟล์ COMMAND.COM เป็นไฟล์ที่มีหน้าที่เก็บคำสั่งภายในของระบบดอสเอาไว้ เช่น TYPE, COPY, DIR, DEL นอกจากนี้ก็ยังทำหน้าที่ ติดต่อและแปลคำสั่งของผู้ใช้ผ่านคีย์บอร์ด และนำคำสั่งนั้นไปปฏิบัติงาน ซึ่งนับว่าไฟล์ COMMAND.COM นั้นมีความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่ยังต้องอิงกับระบบดอสอยู่มาก 
วิธีแก้ไขก็คือ ให้บูตเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk จากนั้นพิมพ์คำสั่ง SYS C: ซึ่งเป็นคำสั่ง ก๊อปปี้ไฟล์ระบบลงไปในไดรฟ์ C: โดยที่ไฟล์ระบบนั้นจะมีไฟล์ COMMAND.COM รวมอยู่ด้วย จากนั้นให้บูตเครื่องขึ้นมาอีกครั้งคราวนี้จะพบว่าสามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แล้ว

เครื่องฟ้องฮาร์ดดิสก์ Error แก้ไงนะ

เครื่องฟ้องฮาร์ดดิสก์ Error แก้ไงนะ
- ในกรณีนี้ให้ลองตรวจสอบสายสัญญาณอินเตอร์เฟซว่าเสียบไว้ถูกต้องหรือไม่ และแน่นดีแล้วกับไดร์ฟและคอนโทรลเลอร์
- ให้ลองสายสัญญาณเส้นใหม่ ดูว่าไดร์ฟตัวแรกที่ถูกกำหนดไว้เป็น Master และตัวที่สองที่กำหนดเป็น Slave ถูกต้องหรือไม่
- ให้เข้าสู่รูทีน CMOS Setup และดูว่าพารามิเตอร์ ทั้งหมดที่ป้อนให้กับไดร์ฟถูกต้องหรือไม่ Heads, Cylinders, Sectors per track, Landing zone และ Write precompensation ต้องถูกทั้งหมด ไม่เช่นนั้นแล้ว POST ก็จะไม่รู้จัก
- สำหรับ SCSI ให้ดูว่าไดร์ฟแต่ละตัวกำหนดค่า ID ที่ไม่ซ้ำกัน และตรวจดูว่าบัส SCSI มีส่วนปิดท้ายที่ถูกต้องด้วย
- ให้ลองใช้ความสามารถ auto detect ถ้ามี CMOS ถูกคอนฟิกไว้ถูกต้องแล้ว ก็อาจสงสัยที่การแบ่งพาร์ติชั่นให้บูตจากฟลอปปี้ดิสก์ และรัน Fdisk เพื่อตรวจสอบพาร์ติชั่นบนฮาร์ดดิสก์ให้แน่ใจว่าพบ DOS Partition อย่างน้อยหนึ่งตัว ถ้าไดร์ฟนี้เป็นตัวบูต Primary partition ต้องถูกกำหนดแอกทีฟและเป็น Bootable ไว้ด้วย (ให้แบ่ง Partition และฟอร์แม็ตใหม่ถ้าจำเป็น)
หลังจากนั้นให้ลองใช้ฮาร์ดดิสก์ หรือคอนโทรลเลอร์ตัวอื่นดูบ้าง ถ้าพบว่าไดร์ฟตัวอื่นมีสภาพดีทำงานได้ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าไดร์ฟตัวเก่าเสีย ถ้าทำงานไม่ได้ก็อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดครับ

เครื่องไม่สามารถเข้าระบบปฏิบัติการได้แก้ไง

เครื่องไม่สามารถเข้าระบบปฏิบัติการได้แก้ไง
สาเหตุที่ 1 ไม่ได้เซ็ท Active พาร์ทิชั่นหรือเซ็ท Active พาร์ทิชั่นเป็นคนละพาร์ติชั่นกับที่ลงปฏิบัติการ
วิธีแก้ บู๊ตเครื่องโดยใช้แผ่นสตาร์ทอัพดิสก์ที่มีโปรแกรมเอฟดิสก์ (Fdisk) แล้วใช้โปรแกรม เอฟดิสก์ตั้งค่า Active พาร์ทิชั่นเป็นไดร์ฟ C หรือไดร์ฟทีลงระบบปฏิบัติการ
สาเหตุที่ 2 ไฟล์หลักของระบบปฏิบัติการเสีย
วิธีแก้ 1 ใช้โปรแกรม Norton Ghost ลงไฟล์ที่แบ็คอัพไว้แก้ไข
วิธีแก้ 2 ใช้แผ่นโปรแกรมระบบปฏิบัติการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่
สาเหตุที่ 3 เกิด Bad Sector บนฮาร์ดดิสก์ตรงตำแหน่งไฟล์สำคัญที่ใช้ในการบู๊ต
วิธีแก้ พื้นที่ฮาร์ดดิสก์เมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจมีบางตำแหน่งที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ ทำให้เสียพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ไปบ้าง ซึ่งเราจำเป็นต้อง 
*** ใช้คำสั่ง Scandisk บน DOS 
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใน DOS Mode เราสามารถสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราตรวจสอบพื้นที่ตำแหน่งต่าง ๆบนฮาร์ดดิสก์ได้ โดยใช้โปรแกรมชื่อ Scandisk ที่จะมากับระบบปฏิบัติการของMicrosoft โดยพิมพ์คำสั่งSCANDISK X: แล้วกด ส่วน X หมายถึงตัวอักษรประจำไดร์ฟที่เราต้องการจะตรวจสอบ โปรแกรม Scandisk ปกติจะมีอยู่ในฮาร์ดดิสก์อยู่แล้วแต่ถ้าหากว่าไม่สามารถเปิดโปรแกรมได้ อาจลองเปิดโปรแกรมจากแผ่น Startp Disk ก็ได้
*** ใช้ Scandisk บน Windows
เราสามารถเข้าโปรแกรม Scandisk โดยคลิกที่ Start>Programs>Accessories>System Tool>Scandisk เลือกไดร์ฟ แล้วเลือก Mode เป็น Trough Test
*** ใช้โปรแกรม Norton Disk Doctor
โปรแกรม Norton Disk Doctor ของบริษัท Symantec เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่สามารถ ค้นหาและแก้ไข Bad Sector ได้ ซึ่งปกติจะมากับชุดโปรแกรม Norton Utility วิธีใช้ก็โดยการเข้า โปรแกรมNorton Disk Doctor แล้วทำการเลือกไดร์ฟที่จะตรวจสอบ ซึ่งเราจะต้องเข้าไปตั้ง Option เพื่อให้ทำการตรวจสอบพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ด้วย Surface Test
สาเหตุที่ 4 ติดไวรัส
วิธีแก้ เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราติดไวรัสหรือเปล่า โดยการทำแผ่นดิสก์สำหรับแก้ไวรัสยามฉุกเฉิน ซึ่งจะทำได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรม Antivirus ต่าง ๆ หลังจากนั้นนำแผ่นโปรแกรมมาบู๊ตเครื่องแล้วโปรแกรมจะตรวจ สอบไวรัสในฮาร์ดดิสก์และฆ่าให้

เครื่องแฮงค์หรือดับไปเอง หรือ Restart เอง แก้ไขไงดี

เครื่องแฮงค์หรือดับไปเอง หรือ Restart เอง แก้ไขไงดี
หากว่าใช้เครื่องไปนาน ๆ แล้วเครื่องดับไปเองหรือแฮงค์บ่อย ๆ สาเหตุอาจจะเกิดจาก CPU มีความร้อนสูง ส่วนมากจะเกิดกับเครื่องที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ในห้องแอร์ โดยเฉพาะหน้าร้อนจะเป็นกันมาก ทางแก้ก็โดยการตรวจสอบที่ตัว CPU ว่าพัดลมระบายความร้อนยังทำงานอยุ่หรือไม่ มีการทาซิลิโคนที่หน้าสัมผัสระหว่างการติดตั้ง Heat Sink หรือเปล่า ถ้ายังไม่หายร้อนก็ลองเปิดครอบเครื่องเพื่อให้อากาศระบายได้โดยง่าย แล้วใช้พัดลมช่วยเปล่า ก็จะแก้ปัญหาได้อีกทางหนึ่ง

จอภาพสั่น ๆ หรือกระพริบอยู่ตลอดเวลา ทำงานแล้วรู้สึกปวดตาจะแก้ปัญหาอย่างไรดี

จอภาพสั่น ๆ หรือกระพริบอยู่ตลอดเวลา ทำงานแล้วรู้สึกปวดตาจะแก้ปัญหาอย่างไรดี
ปัญหานี้เกิดจากคุณไม่ได้เข้าไปปรับอัตรา Refresh Rate ของจอภาพใน Windows ครับ หรือถ้าปรับแล้วก็ยังสั่นอยู่อีก ให้ลองดูครับว่ามีคลื่นสนามแม่เหล็ก มากวนจอภาพของเราหรือเปล่า เช่น จอภาพที่วางใกล้ ๆ กัน หรือจะเป็นคลื่นจากลำโพงที่วางไว้ใกล้กับจอภาพ อัตรา Refresh สูง ๆ นั้นจะช่วยให้ภาพที่แสดงออกมานั้นนิ่งดูสบายตามากขึ้น สำหรับจอภาพขนาด 15" ส่วนใหญ่จะปรับอัตรา Refresh Rate อยู่ที่ 75-85 Hz ซึ่งการปรับอัตรา Refresh Rate นี้จะสัมพันธ์กับความละเอียดของจอด้วย เช่น 800x600 @ 85Hz , 1024x768 @ 75Hz ฯลฯ ขั้นตอนการปรับอัตรา Refresh Rate ทำได้ดังนี้
- คลิกขวาที่ Desktop เลือก Properties 
- คลิกที่แท็บ Settings และคลิกที่ Advanced
- คลิกที่แท็บ Adapter ที่ Refresh Rate สามารถปรับอัตรา Refresh Rate ได้ตามต้องการ
- คลิก ปุ่ม OK
- คลิกปุ่ม YES เพื่อยืนยันอีกครั้ง เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้วละครับ

ซีดีรอมอ่านช้า

ซีดีรอมอ่านช้า
ทำไงดีใส่แผ่นซีดี เข้าไปแล้ว ไดร์ซีดีรอม อ่านช้ามาก?
ควรตรวจสอบดูว่า ไดร์ซีดีรอมนั้น กับฮาร์ดดิสก์ของคุณได้ต่อสาย IDE อยู่ในเส้นเดียวกันหรือเปล่า เพราะการต่อแบบนี้ จะทำให้การโอนถ่าายข้อมูลนั้น มีการโอนถ่ายที่ช้าลงไป เพราะฉนั้นถ้าต่ออยู่เส้นเดี๋ยวกันก็เปลี่ยนซะ เอาไดร์ฟซีดีรอม ไปเสียบในช่อง secondary ก็ได้
หรือในอีกกรณีหนึ่ง ถ้าคุณใช้ ไดร์ซีดีรอมแบบ DVD เวลาที่นำแผ่นซีดีแบบธรรมดาไปใช้ ก็จะพบว่าการอ่านแผ่นนั้น อ่านได้ช้ากว่าไดร์ซีดีรอมปกติ เพราะ DVD นั้นต้องทำการตรวจสอบก่อนว่าเป็นแผ่นซีดีแบบชนิดไหน จากนั้นจึงเริ่มอ่านข้อมูล ทำให้ เริ่มต้นการอ่านได้ช้า
นอกจากนี้ยังตรวจสอบได้อีกอย่างว่า เปิดฟีเจอร์ DMA ไว้หรือเปล่า ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่รู้ ก็มีวิธีการเปิดดังนี้เลย
1. คลิ๊กขวาที่ My Computer แล้วเลือก Properties
2. คลิ๊กแท็ป Device Manager คลิ๊กเครื่องหมาย + ที่กลุ่มซีดีรอม
3. จากนั้นดับเบิ้ลคลิ๊ก ที่ไดร์ฟซีดีรอมที่ เราต้องจากจะ set กัน แล้วคลิ๊กที่แท๊ป setting
4. แล้วเช็กบล๊อกที่หน้าคำว่า DMA และ Sync Data Transfer เสร็จแล้วก็คลิ๊ก OK และทำการ รีสตาร์ท
** แต่ถ้าทำงาน set ค่า DMA แล้ว ซีดีรอมเกิดทำงานผิดปกติ ให้เซ็ตค่ากลับอย่างเดิม อาจเป็นเพราะไดร์ฟซีดีรอมรุ่นเก่า และไม่สนับสนุนการทำงานแบบ DMA